วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

ท้าทฤษฎี “ไอน์สไตน์” ผลทดลองที่ “เซิร์น” พบนิวทริโนไวกว่าแสง

ทฤษฎีของไอน์สไตน์ถูกท้าทายจากการทดลองที่พบว่านิวทริโนวิ่งเร็วกว่าแสง (เอพี)


ผลการทดลองนี้ยังไม่ได้รับการยืนยันว่า “นิวทริโน” เร็วกว่าแสงจริงหรือไม่ แต่หากพิสูจน์ได้ว่าการทดลองของทีมวิจัยยุโรปที่ “เซิร์น” ไม่ผิดพลาด ย่อมส่งผลสะเทือนถึงวงการฟิสิกส์และทฤษฎีของไอน์สไตน์ ซึ่งสิ่งที่ทีมวิจัยต้องการมากในตอนนี้คือการทดลองจากแล็บที่จะช่วยรับรองหรือคว่ำผลการศึกษาล่าสุดของพวกเขา
       
       ทีมวิจัยจากยุโรปได้จับเวลาการเดินทางของอนุภาค “นิวทริโน” (neutrino) จากกรุงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ไปยังอิตาลี แล้วพบว่าอนุภาคที่แทบจะไม่มีมวลนี้เคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากกว่า 186,282 ไมล์ หรือ 299,792 กิโลเมตร ต่อวินาที ซึ่งเป็นความเร็วที่ยอมรับกันว่าเป็นขีดจำกัดความเร็วของจักรวาล (cosmic speed limit) โดยทางเอพีรายงานว่าการอ้างผลการทดลองได้เผชิญกับข้อกังหาโดยมีนักฟิสิกส์ที่ออกมาเปรียบเทียบการอ้างผลการทดลองว่าเหมือนการป่าวประกาศว่ามีพรมวิเศษ แต่ทางทีมวิจัยเองก็ไม่ได้แถลงผลการทดลองอย่างเป็นทางการ ขณะเดียวกันก็เรียกร้องให้นักฟิสิกส์คนอื่นๆ ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกันออกมาพิสูจน์งานวิจัยนี้
       
       “เราได้พยายามหาคำอธิบายที่เป็นไปได้ทั้งหมดแล้วสำหรับการทดลองครั้งนี้ เราอยากจะหาข้อผิดพลาด ความคลาดเคลื่อนเล็กๆ น้อยๆ ความคลาดเคลื่อนที่ซับซ้อน หรือผลกระทบที่ยากจะแก้ไข และเราก็ไม่พบ เมื่อคุณหาข้อผิดลพาดใดๆ ไม่เจอแล้ว ก็ได้เวลาที่คุณจะพูดว่า เอาล่ะ ฉันต้องฝืนใจออกไปข้างนอก และร้องขอสังคมให้ช่วยตรวจสอบสิ่งนี้” ดร.แอนโทนิโอ อีเรดิทาโต (Antonio Ereditato) จากมหาวิทยาลัยเบิร์น (University of Bern) สวิตเซอร์แลนด์ และกลุ่มศึกษานิวทริโนโอเปรา (the Opera collaboration) ผู้เขียนรายงานการค้นพบล่าสุดนี้ให้ความเห็นแก่ทางบีบีซีนิวส์
       
       “ความรู้สึกที่คนส่วนใหญ่มีคือ ผลการทดลองนี้ไม่ถูกต้อง ผลการทดลองนี้ไม่น่าจะเป็นจริง” ความเห็นของ เจมส์ กิลลีส์ (James Gillies) โฆษกขององค์กรเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป (European Organization for Nuclear Research) หรือ เซิร์น (CERN) ซึ่งอำนวยความสะดวกให้ทีมวิจัยใช้เครื่องเร่งอนุภาคที่อยู่ใต้ดินเพื่อยิงอนุภาคนิวทริโนจากเจนีวาไปอิตาลี
       
       ขณะที่ อลัน โกสเตเลคกี (Alan Kostelecky) นักฟิสิกส์ทฤษฎีจากมหาวิทยาลัยอินเดียนา (Indiana University) ซึ่งทำงานวิจัยทางด้านนี้มาถึง 25 ปีให้ความเห็นว่า การค้นพบครั้งนี้จะเป็นการปฏิวัติวงการ หากว่าผลการทดลองได้รับการยืนยันว่าถูกต้อง ไม่ต่างจาก สตีเฟน ปาร์เก (Stephen Parke) นักทฤษฎีหัวหน้าทีมประจำห้องปฏิบัติการเฟอร์มิแล็บ (Fermilab) ใกล้กับเมืองชิคาโก อิลลินอยด์ สหรัฐฯ ซึ่งไม่มีส่วนร่วมกับงานวิจัยล่าสุดนี้กล่าวว่า ผลการทดลองดังกล่าวเป็นสิ่งที่น่าตะลึง และจะกลายเป็นปัญหาสำหรับนักฟิสิกส์ หากได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นจริง
       
       รายละเอียดจากเอพีระบุว่า การทดลองนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยนิวเคลียร์และฟิสิกส์อนุภาคฝรั่งเศส (National Institute for Nuclear and Particle Physics Research) และห้องปฏิบัติการกรานซัสโซอิตาลี (Gran Sasso National Laboratory) ซึ่งได้ทำการทดลองที่เซิร์น โดยลำอนุภาคนิวทริโนได้ถูกยิงออกจากเครื่องเร่งอนุภาคดินใกล้กรุงเจนีวาไปยังห้องปฏิบัติการในอิตาลีที่อยู่ไกลออกไป 730 กิโลเมตร และพบว่าอนุภาคดังกล่าวเดินทางด้วยความเร็วมากกว่าแสง 60 นาโนวินาที (nanosecond)โดยมีความคลาดเคลื่อนเพียง 10 นาโนวินาที
       
       ด้วยผลการทดลองที่มีความหมายสำคัญมากเช่นนี้ เอพีรายงานว่าทางทีมวิจัยจึงต้องใช้เวลาตรวจสอบและตรวจทานนานอยู่หลายเดือน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีจุดบกพร่องในการทดลอง โดยทางบีบีซีนิวส์บอกว่าทีมวิจัยต้องวัดการการเคลื่อนที่ของลำนิวทริโนอยู่ราว 15,000 ครั้ง และได้ข้อมูลที่มีนับสำคัญทางสถิติ และก่อนหน้านี้เมื่อปี 2007 ทีมวิจัยเฟอร์มิแล็บของสหรัฐฯ ได้ทำการทดลองที่พบว่าอนุภาคเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าแสงเช่นกัน หากแต่มีค่าความคลาดเคลื่อนที่กว้างกว่า จึงไปตัดความสำคัญทางวิทยาศาสตร์ของผลการทดลองนั้น
       
       ความเร็วแสงนั้นเป็นขีดกำจัดความเร็วของเอกภพ ซึ่งฟิสิกส์ยุคใหม่ส่วนมากขึ้นตรงต่อแนวคิดที่ว่าไม่มีอะไรเคลื่อนที่ได้เร็วกว่า โดยแนวคิดนี้มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (Special theory of relativity) ของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) ที่เสนอขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1905 และมีการทดลองหลายพันหลายหมื่นการทดลองที่พยายามวัดการเคลื่อนที่ของอนุภาคให้แม่นยำที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ แต่ไม่มีผลการทดลองใดที่จะฝืนขีดจำกัดดังกล่าว แต่เมื่อ 3 ปีที่ผานมา ดร.อีเรดิทาโตและคณะทำงานได้ทำการทดลองที่ชี้นำว่า นิวทริโอเดินทางได้เร็วกว่าแสง
       
       ฟิลิป สคิว (Phillip Schewe) นักฟิสิกส์และผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารของสถาบันจอยท์ควอนตัม (Joint Quantum Institute) ในแมรีแลนด์ สหรัฐฯ อธิบายว่า นิวทริโนนั้นเป็นอนุภาคที่แทบจะไม่มีมวล และมีชนิดที่แตกต่างกันที่เรียกว่า “เฟลเวอร์” (flavor) อยู่ 3 เฟลเวอร์ แต่ละเฟลเวอร์มีปฏิอนุภาคเป็นคู่ของตัวเอง และพบว่านิวทริโนที่พ่นออกจากดวงอาทิตย์นั้นสามารถเปลี่ยนจากเฟลเวอร์หนึ่งเปลี่ยนไปเป็นอีกเฟลเวอร์หนึ่งได้
       
       ทางด้าน เบรน กรีน (Brian Greene) นักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University) สหรัฐฯ ผู้เขียนหนังสือ “ถักทอจักรวาล” (Fabric of the Cosmos) ให้ความเห็นว่าในทางทฤษฎีแล้วนิวทริโนสามารถเดิยทางด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับพลังงานที่มี และอนุภาคลึกลับอื่นๆ ที่ยังคงเป็นเพียงทฤษฎีอยู่นั้นก็อาจมีความเร็วคล้ายๆ กันนี้
       
       ส่วน เจนนี โธมัส (Jenny Thomas) ซึ่งเป็นสมาชิกทีมโฆษกเฟอร์มิแล็บ และศาสตราจารย์ฟิสิกส์ประจำมหาวิทยาลัยคอลเลจออฟลอนดอน (University College of London) ในสหราชอาณาจักร กล่าวว่า จำเป็นต้องมี “คำอธิบายที่เป็นปกติมากกว่านี้” สำหรับการค้นพบของทีมวิจัยจากยุโรป โดยเธอบอกว่าประสบการณ์จากห้องปฏิบัตารเฟอร์มิแล็บนั้น แสดงให้ว่าเป็นเรื่องยากเพียงใดในการวัดระยะทาง เวลาและมุมที่แม่นยำ เพื่อที่จะอ้างผลการทดลองเช่นงานวิจัยล่าสุดนี้ได้
       
       ถึงอย่างนั้นทางเฟอร์มิแล็บซึ่งยิงลำอนุภาคนิวทริโนจากชิคาโกไปยังมินเนโซตาก็ได้เริ่มต้นการทดลองเพื่อพิสูจน์หรืออีกแง่หนึ่งคือพยายามล้มคว่ำผลการทดลองล่าสุด และนั่นก็เป็นสิ่งที่ทีมวิจัยในกรุงเจนีวาต้องการ โดยกิลลีส์บอกว่าเอพีว่าผลการทดลองที่อ่านได้สร้างความประหลาดใจแก่นักวิจัย ซึ่งพวกเขาได้เชิญประชาคมฟิสิกส์มาช่วยดูว่าพวกเขาได้ทำอะไร และพินิจพิเคราะห์รายละเอียดที่มากขึ้น รวมถึงให้นักวิทยาศาสตร์ทำการทดลองซ้ำเพื่อผลการทดลองที่สมบูรณ์ขึ้น
       
       อย่างไรก็ดี มีห้องปฏิบัติการเพียง 2 แห่งในโลกที่สามารถทำการทดลองนี้ซ้ำได้ นั่นคือเฟอร์มิแล็บและห้องปฏิบัติการที่ญี่ปุ่นซึ่งทำวิจัยได้ช้าลงเพราะผลกระทบจากสึนามิและแผ่นดินไหว และ ร็อบ พลันเก็ตต์ (Rob Plunkett) นักวิทยาศาสตร์ประจำเฟอร์มิแล็บกล่าวว่า ความแม่นยำในระบบการวัดของเฟอร์มิแล็บไม่ใกล้เคียงกับความแม่นยำของห้องปฏิบัติการที่ยุโรป และห้องปฏิบัติการของสหรัฐฯ นี้จะยังไม่เพิ่มขึ้นความสามารถในการวิจัยไปอีกช่วงเวลาหนึ่ง
       
       ส่วน ดรูว บาเดน (Drew Baden) หัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์แห่งมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ (University of Maryland) ให้ความเห็นต่อการทดลองที่เซิร์นว่า การค้นพบดังกล่าวอาจเป็นผลจากการทดลองที่ผิดพลาด หรือไม่ก็เป็นเรื่อง “ฟลุค” เพราะว่าการแกะรอยนิวทริโนนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และบอกด้วยว่าสิ่งที่ทีมวิจัยจากยุโรปเสนอมานี้เป็นเรื่องน่าหัวเราะ
       
       “จนกว่าการทดลองนี้จะได้รับการพิสูจน์โดยกลุ่มวิจัยอื่น มันก็คงเป็น “พรมวิเศษ” มันเจ๋ง แต่...” บาเดนให้ความเห็น
       
       หากนิวทริโนเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าแสงจริง ปาร์เกกล่าวว่าอาจจะมีทางลัดไปสู่มิติอื่น โดยทฤษฎีฟิสิกส์นั้นเต็มไปด้วยมิติที่มองไม่เห็นมากมาย ซึ่งช่วยให้นิวทริโนเคลื่อนที่ด้วยความเร็วแซงหน้าแสงได้ ส่วนกรีนกล่าวว่าหากสิ่งที่ทีมวิจัยยุโรปค้นพบนั้นถูกต้อง สิ่งนี้จะเปลี่ยนแนวคิดว่าเอกภพของเรานั้นรวมกันได้อย่างไร ขณะที่โกสเตเลคกีจากอินเดียนาเสนอทฤษฎีว่าอาจมีสถานการณ์ที่พื้นหลังของเอกภพนั้นไม่สมมาตรอย่างที่ไอน์ไสตน์บอก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของพื้นหลังนี้อาจปรับเปลี่ยนความเร็วของแสงและนิวทริโนได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าทฤษฎีจของไอน์สไตน์ถูกพังยับเยิน
       
       “ผมไม่คิดว่าคุณจะ “ล้ม” ทฤษฎีไอน์สไตน์ได้ คุณทำไม่ได้หรอก มันใช้การได้อยู่ เพียงแต่ต้องใช้เวลาเพื่อขยายความเพิ่มเติม” โกสเตเลคกีกล่าว
       
       * 1 นาโนวินาทีเท่ากับ 1 ในพันล้านของวินาที



อนุภาคนิวทริดนวิ่งจากกรุงเจนีมามายังห้องปฏิบัติการในอิตาลี (บีบีซีนิวส์)

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

นักวิทย์เตือน เอเลี่ยนหวั่นภัยความเจริญ อาจล้างบาง 'มนุษย์' เพื่อปกป้องอารยธรรมอื่น

มนุษย์ต่างดาวอาจสังเกตเห็นความเสียหายที่มนุษย์ทำไว้กับโลก จึงมองว่าจำเป็นที่ต้องกำจัดพวกเราทิ้ง เพื่อปกป้องดาวดวงนี้ไว้
เดอะการ์เดียน - นักวิทยาศาสตร์เตือน ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มสูงขึ้นอาจเป็นการส่งสัญญาณให้มนุษย์ต่างดาวรู้สึกว่ามนุษย์โลกเป็นภัยคุกคามที่กำลังแผ่ขยายอย่างรวดเร็ว จึงควรต้องรีบลดปริมาณปล่อยก๊าซดังกล่าวลง เพื่อป้องกันไม่ให้เหล่าเอเลี่ยนบุกโจมตีโลก
       
       นักวิทยาศาสตร์แห่งองค์การนาซา และมหาวิทยาลัยรัฐเพนซิลเวเนียอธิบายว่า สิ่งมีชีวิตจากดาวอันไกลพ้นสามารถมองเห็นการเปลี่ยนแปลงในชั้นบรรยากาศของโลก อันเป็นสัญญาณว่าความเจริญโตขึ้นจนไม่สามารถควบคุมได้ และพวกเขาจะต้องดำเนินการขั้นเด็ดขาด เพื่อไม่ให้พวกเราชาวโลกกลายเป็นภัยที่ร้ายแรงขึ้น
       
       ชอว์น โดมากัล-โกลด์แมน จากหน่วยวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ของนาซา และเพื่อนร่วมทีม ได้รวบรวมสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งจะตามมาหลังมีการพบปะกันอย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยมนุษยชาติเตรียมพร้อมสำหรับการติดต่อสัมพันธ์ที่แท้จริง
       
       ในรายงานที่ชื่อ Would Contact with Extraterrestrials Benefit or Harm Humanity? A Scenario Analysis ทีมนักวิจัยได้แบ่งการติดต่อจากมนุษย์ต่างดาวออกเป็น 3 รูปแบบ คือ มาอย่างเป็นคุณ กลางๆ และให้โทษ
       
       สำหรับการมาอย่างเป็นคุณนั้น ชาวโลกอาจจะได้รับประโยชน์ตั้งแต่การให้ข้อมูลข่าวกรองนอกโลก การตั้งองค์กรเพื่อช่วยเราพัฒนาความรู้ ความสามารถ และช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่โลกกำลังเผชิญอยู่ ไม่ว่าจะเป็น ความหิวโหย ความอดอยาก และโรคร้าย ตลอดจนการช่วยโลกต่อสู้กับผู้บุกรุกจากดาวเคราะห์อื่นๆ ด้วย
       
       ขณะที่ การติดต่อโดยเอเลี่ยนบางครั้งอาจไม่ทำให้สังคมโลกรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลง พวกเขาอาจแตกต่างกับมนุษย์โลกจนไม่สามารถจะสื่อสารกันอย่างเป็นประโยชน์ได้ แต่พวกเขาอาจชักชวนให้ชาวโลกเข้าร่วมสมาคมต่างดาว "แกแลคติก คลับ" เพียงเพื่อจะขอเดินทางมายังโลก และอาจกลายเป็นสิ่งที่ก่อความวุ่นวายให้กับโลกได้
       
       อย่างไรก็ตาม สิ่งมีชีวิตจากนอกโลกก็อาจมาอย่างให้โทษต่อมนุษยชาติ ไม่ว่าจะเป็นการเป็นภัยโดยไม่ตั้งใจ อย่างการแพร่โรคระบาด หรือแม้แต่การกินมนุษย์ เอามนุษย์ไปเป็นทาส และโจมตีทำลายล้างเราได้เช่นกัน
       
       ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการอยู่รอดของมนุษย์ นักวิจัยเหล่านี้จึงเรียกร้องให้ระวังการส่งสัญญาณขึ้นไปในอวกาศ โดยเฉพาะเตือนไม่ให้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะทางชีววิทยา ซึ่งอาจถูกใช้เป็นอาวุธล้างบางพวกเราชาวโลก ขณะที่การติดต่อกับเหล่าอีทีก็ควรเป็นไปอย่างจำกัด จนกว่าจะรู้จักมนุษย์ต่างดาวที่เกี่ยวข้องด้วยนั้นดีขึ้น
       
       นอกจากนี้ คณะผู้เขียนรายงานฉบับดังกล่าวยังเสริมว่า เอเลี่ยนทั้งหลายอาจวิตกกังวลกับอารยธรรมที่แผ่ขยายอย่างรวดเร็ว เนื่องจากความเจริญเหล่านั้นมีแนวโน้มที่จะทำลายสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่นเดียวกับที่มนุษย์ทำให้สิ่งมีชีวิตหลายชนิดสูญพันธุ์จากโลกนี้ไปแล้ว
       
       ทีมนักวิจัยระบุว่า ขณะนี้ ความเจริญของมนุษยชาติอาจเข้าสู่ช่วงที่ขยายตัวอย่างมากจนองค์กรข่าวกรองนอกโลกตรวจจับได้ เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของชั้นบรรยากาศของโลก ผ่านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนั่นเอง
       
       "กรีนเอเลี่ยนอาจคัดค้านการทำลายสิ่งแวดล้อมบนโลกที่มนุษย์เป็นตัวการ และกวาดล้างพวกเราเพื่อรักษาดาวดวงนี้ไว้ สิ่งสมมติเหล่านั้เป็เหตุผลให้เราต้องจำกัดการเติบโต และลดผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ของโลก นี่เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเราในการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เนื่องจากองค์ประกอบในชั้นบรรยากาศอาจถูกสังเกตเห็นได้จากดาวดวงอื่น" รายงานดังกล่าวสำทับ



credit:http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9540000104253

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

รู้ไหมว่า...ไดนาไมต์ทำจากถั่ว

อัลเฟรด โนเบล ผู้ประดิษฐ์ไดนาไมต์


 หลายคนทราบดีกว่า อัลเฟรด โนเบล (Alfred Nobel) เป็นผู้ก่อตั้งรางวัลอันทรงเกียรตินี้ขึ้นมา เขาซึ่งเป็นทั้งนักเคมี วิศวกร นวัตกร นักอุตสาหกร รวมถึงผลงานที่ทำให้รู้จักกันก้องโลกนั่นก็คือการประดิษฐ์“ระเบิดไดนาไมต์”


       
       โนเบลค้นพบวิธีการสร้างไดนาไมต์ในปี 1866 และจดสิทธิบัตรในปีต่อมา โดยต้องการสร้างให้ระเบิดดังกล่าวใช้ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ แต่แล้วสิ่งประดิษฐ์อันยอดเยี่ยมของเขาก็กลับกลายเป็นอาวุธทำลายมนุษย์กันเอง
       เจ้าของนวัตกรรมชิ้นนี้ถึงกับปวดใจ จึงตั้งกองทุนขึ้นมาเพื่อจะให้แก่ผู้ที่สร้างคุณประโยชน์ให้แก่ชาวโลก พร้อมๆ กันนั้นเขาก็ตั้งหน้าตั้งตาสร้างสิทธิบัตรอีกจำนวน 355 ชิ้น เพื่อจะได้นำรายได้จากการใช้สิทธิบัตรเหล่านี้ เพิ่มมูลค่าให้แก่กองทุนในอนาคต
จนกระทั่งโนเบลสิ้นใจลง ในปี 1896 ก็ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สมบัติทั้งหมด ให้แก่กองทุนมูลนิธิรางวัลโนเบล โดยกำหนดให้มีการมอบรางวัลในสาขาต่างๆ ทุกปี โดยเฉพาะสาขาสันติภาพ

       กลับมาที่ถั่ว ... เกี่ยวอะไรกับไดนาไมต์? 
       
       ส่วนประกอบสำคัญของ “ไดนาไมต์” นั้น คือ ไนโตรกรีเซอรีน (Nitroglycerine)
       
       ไนโตรกรีเซอรีนนี้ เป็นสารประกอบเคมี ในภาวะปกติจะเป็นของเหลว ระเบิดได้และไม่มีสี ซึ่งโนเบลได้นำไนโตรกรีเซอรีนผสมเข้ากับผงดินปืนจนกลายมาเป็นไดนาไมต์

ไนโตรกรีเซอรีนนั้น เป็นส่วนผสมของ “ไนโตรเจน” กับ “กรีเซอรีน” ซึ่งกรีเซอรีนถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย และเราคุ้นเคยกันดี คือเป็นส่วนผสมของสบู่ และด้วยความหวานของกรีเซอรีนทำให้ถูกนำไปผสมในครีม และอาหารอีกหลายชนิด
       แล้วถั่วมาเกี่ยวกันตอนไหน?
       
       ก็เพราะกลีเซอรีนนั้น ทำมาจาก “น้ำมันถั่วลิสง”
       
       ถั่วจึงกลายเป็นต้นกำเนิดไดนาไมต์ และอาจจะพูดได้อีกว่า ถั่วนี่ล่ะที่เป็นต้นกำเนิดแห่งรางวัลโนเบล !!




credit:http://manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000119179 

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

รู้ไหมว่า? “อนุภาคมูลฐาน” มีกี่ชนิด

แผนภาพอนุภาคมูลฐานทั้ง 16 ชนิด (ไซน์เดลี/Fermilab)


อนุภาคมูลฐาน (Fundamental Particle) เป็นหน่วยเล็กที่สุดของอะตอมที่เชื่อว่าแบ่งต่อไปอีกไม่ได้ มีทั้งหมด 16 ชนิด แบ่งออกเป็น เฟอร์มิออน (fermion) หรืออนุภาคสสาร และ โบซอน(Boson) หรืออนุภาคนำพาแรง (force carrier)
       
       เฟอร์มิออนนั้นแบ่งเป็น 2 ประเภท (class) ได้แก่ ควาร์ก (Quark) และ เลปตอน (Lepton)ซึ่งแต่ละประเภทแบ่งได้ 6 ชนิด
       - ควาร์ก แบ่งเป็น อัพควาร์ก (up quark) ดาวน์ควาร์ก (down quark) ชาร์มควาร์ก (charm quark) สแตรนจ์ควาร์ก (strange quark) ท็อปควาร์ก (top quark) และ บัตทอมควาร์ก (buttom quark)
       - เลปตอน แบ่งเป็น อิเล็กตรอนนิวทริโน (electron neutrino) อิเล็กตรอน (electron) มิวออนนิวทริโน (muon neutrino) มิวออน (muon) ทาวนิวทริโน (tau neutrino) และทาว (tau)
       
       ส่วนโบซอนนั้นแบ่งออกได้ 4 ชนิด คือ โฟตอน (photon) กลูออน (gluon) แซดโบซอน (Z boson) และ ดับเบิลยูโบซอน (W boson)
       
       *อ้างอิงข้อมูลจาก ห้องปฏิบัติการเครื่องเร่งอนุภาคสหรัฐฯ สแลค (SLAC National Accelerator Laboratory) มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) 


credit:http://manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000069163

“ผ้าคลุมล่องหน” กำลังเป็นรูปเป็นร่าง

ภาพแแสดงการสะท้อนเสียงบนวัตถุต่างๆ (บน) เสียงสะท้อนบนพื้นผิวเรียบ (กลาง) เสียงสะท้อนเมื่อมีวัตถุ (ล่าง) เสียงสะท้อนเมื่อมีวััสดุล่องหนคลุมวัตถุไว้


จากทฤษฎีที่เสนอเมื่อปี 2008 ตอนนี้แนวคิดในการพัฒนา “ผ้าคลุมล่องหน” กำลังเป็นรูปเป็นร่าง เมื่อนักวิทยาศาสตร์ได้นำเสนออุปกรณ์ที่ทำให้มองไม่เห็นวัตถุ โดยเปลี่ยนไปใช้คลื่นเสียงแทน ซึ่งงานนี้หยิบยืมหลายๆ แนวคิดที่พยายามซ่อนวัตถุจากแสง 
       
       นับแต่มีแนวคิดเสนอขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2006 ว่า เราทำ “ผ้าคลุมล่องหน” อย่างในภาพยนตร์เรื่อง “แฮร์รี พอตเตอร์” (Harry Potter) ได้ ก็มีงานวิจัยจำนวนมากที่ส่งสัญญาณว่าเราทำแนวคิดดังกล่าวให้เป็นจริงได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานเกี่ยวกับการออกแบบอภิวัตถุ (meta material) ที่บังคับให้แสงเดินทางไปรอบๆ วัตถุก่อนเดินทางไปถึงผู้สังเกต แล้วทำให้เห็นราวกับว่าวัตถุไม่ีอยู่ตรงนั้น
       
       อย่างไรก็ดี บีบีซีนิวส์รายงานว่า นักวิจัยพบคณิตศาสตร์เบื้องหลังหลักการสร้างวัสดุล่องหนที่สามารถเปลี่ยนจากการใช้แสงไปใช้เสียงได้ โดย ดร.สตีเฟน คัมเมอร์ (Dr.Steven Cummer) จากมหาวิทยาลัยดุค (Duke University) สหรัฐฯ อธิบายว่า เรารับรู้สิ่งต่างๆ ที่อยูในรูปของคลื่น ไม่ว่าจะเป็นการได้ยินหรือการมองเห็น แต่คลื่นเสียงและคลื่นแสงนั้นมีความแตกต่างกันมาก ซึ่งเขาแนะนำว่าสิ่งสำคัญในการพัฒนาวัสดุล่องหน คือการสร้างพฤติกรรมสำหรับทิศทางการเดินของแสงผ่านวัตถุให้หลากหลาย
       
       ทั้งนี้ เมื่อปี 2008 ดร.คัมเมอร์ ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับวัสดุล่องหนที่อาศัยการแปลงเสียงนี้ แล้วตีพิมพ์ลงวารสารฟิสิคัลรีวิว (Physical Review Letters) และเมื่อต้นปี 2011 กลุ่มวิจัยจากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์บานา-แคมเปญจน์ (University of Illinois Urbana-Champaign) สหรัฐฯ เป็นกลุ่มแรกที่สาธิตทฤษฎีดังกล่าวในทางปฏิบัติได้ และตีพิมพ์ลงวารสารวิชาการฉบับเดียวกัน โดยผลงานพวกเขาได้แสดงการล่องหนบนชั้นผิวน้ำให้เป็นความถี่เสียงย่านอัลตราซาวน์ ซึ่งอยู่เหนือความถี่เสียงที่เราได้ยิน
       
       มาถึงตอนนี้ ดร.คัมเมอร์และคณะได้แสดงเทคนิคการล่องหนที่ทำงานได้ในอากาศ โดยแปลงภาพให้เป็นความถี่เสียงระหว่าง 1-4 กิโลเฮิรตซ์ พวกเขาทำได้โดยใช้แผ่นพลาสติกที่เรียงกันเป็นชั้นๆ และมีรูเรียงกัน ซึ่งขนาดและตำแหน่งจัดวางของรูในแผ่นพลาสติก รวมทั้งระยะห่างระหว่างแผ่นพลาสติกนั้น มีผลต่อการกำหนดรูปแบบคลื่นเสียงที่จะออกมา ซึ่งเมื่อนำไปวางบนพื้นเรียบๆ แผ่นพลาสติกที่เรียงเป็นชั้นดังกล่าว จะเปลี่ยนทิศทางของคลื่นเสียงให้สะท้อนออกมา ราวกับว่าไม่มีแผ่นชั้นพลาสติกนั้นอยู่
       
       นั่นหมายความว่า ในการทดลองของพวกเขานั้นวัตถุที่อยู่ใต้ชั้นแผ่นพลาสติกจะไม่สามารถ “รับรู้” ถึงเสียงได้ และไม่สามารถใช้คลื่นเสียงค้นหาตำแหน่งวัตถุใต้แผ่นพลาสติกเช่นกัน ทั้งนี้ พวกเขาใช้ก้อนไม้ที่ยาว 10 เซ็นติเมตรเป็นวัสดุทดลองวางไว้ใต้ชั้นแผ่นพลาสติก ซึ่ง ดร.คัมเมอร์กล่าวว่าวัสดุคลุมล่องหนของพวกเขานั้นสะท้อนเสียงได้ราวกับเป็นพื้นผิวเรียบๆ
       
       ด้าน ออร์ทวิน เฮสส์ (Ortwin Hess) ผู้อำนวยการศูนย์พลาสโมนิกส์และอภิวัสดุ (Centre for Plasmonics and Metamaterials) มหาวิทยาลัยอิมพีเรียลคอลเลจลอนดอน (Imperial College London) อังกฤษ กล่าวถึงงานวิจัยดังกล่าวว่าเป็น “การสาธิตการทดลองที่น่าจดจำอย่างยิ่ง” ซึ่งได้แสดงให้เห็นว่า แม้คลื่นเสียงและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (แสง) จะมีธรรมชาติที่ต่างกันมาก แต่การแปลงรูปในทางคณิตศาสตร์ของแสงและเสียงนั้นเหมือนกัน
       
       อย่างไรก็ดีการทดลองนี้ยังทำได้ในทาง 2 มิติเท่านั้น และจะมีความท้าทายยิ่งกว่าในการล่องหนวัตถุ 3 มิติ ทั้งนี้ งานวิจัยของ ดร.คัมเมอร์แสดงให้เห็นว่าวัตถุสามารถซ่อนตัวจากเสียงได้และยังกันเสียงที่มากระทบได้อีก ซึ่งหลักการเดียวกันนี้ยังนำไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นได้ด้วย เช่น การเก็บเสียงรบกวน หรือ การปรับแต่งเสียงในห้องแสดงคอนเสิร์ต เป็นต้น


วัสดุล่องที่ชั้นพลาสติกเจาะรูเรียงเป็นชั้นๆ (ภาพทั้งหมดจากบีบีซีนิวส์)

แปลก! พบสัตว์เลื้อยคลานยุคไดโนเสาร์ไม่วางไข่แต่ออกลูกเป็นตัว


ฟอสซิลสัตว์เลื้อยคลานในทะเลท้องแก่ไม่เพียงให้ข้อมูลใหม่แก่นักวิทยาศาสตร์ว่า “พลีซิโอซอร์” เป็นสัตว์เลื้อยคลานในยุคไดโนเสาร์คลอดลูกเป็นตัวเท่านั้น แต่ลักษณะตัวอ่อนที่พบยังบ่งชี้ว่าสัตว์เลื้อยคลานในน้ำสายพันธุ์นี้ยังมีวิธีเลี้ยงดูลูกอย่างทะนุถนอมแบบเดียวกับวาฬและโลมาด้วย 
       
       นักวิทยาศาสตร์ทราบดีว่าสัตว์เลื้อยคลานในทะเลที่สูญพันธุ์ไปแล้วอย่าง อิชธิโอซอร์ (ichthyosaur) โมซาซอร์ (mosasaur) และชอริสโตเดอรัน (choristoderan) ออกลูกเป็นตัว แต่เป็นครั้งแรกที่มีหลักฐานบ่งชี้ว่า พลีซิโอซอร์ (plesiosaur) สัตว์เลื้อยคลานทะเลในยุคไดโนเสาร์สายพันธุ์ พอลิคอไทลัส ลาทิพพินัส (Polycotylus latippinus) ออกลูกเป็นตัวเช่นกัน
       
       เนเจอร์นิวส์รายงานว่า ฟอสซิลของพลีซิโอซอร์วางนิ่งอยู่ในชั้นใต้ดินของพิพิธภัณฑ์โดยไม่ได้รับการตรวจสอบมากเกือบ 25 ปี แต่เมื่อตรวจสอบพบว่า ฟอสซิลของสัตว์ยุคไดโนสาร์ชนิดนี้มีตัวอ่อนขนาดใหญ่ที่มีความยาว 150 เซนติเมตรอยู่ในร่างของแม่ที่มีความยาว 470 เซนติเมตร โดยตัวอ่อนมีกระดูกสันหลัง 20 ข้อ มีไหล่ สะโพกและกระดูกครีบให้เห็น ซึ่งเชื่อว่าตัวอ่อนเจริญเติบโตมาได้ 2 ใน 3 ของระยะก่อนออกมาดูโลกภายนอกแล้ว และการค้นพบครั้งนี้ยังได้เผยแพร่ลงวารสารวิชาการไซน์ (Science)
       
       “เรารู้จักพลีซิโอซอร์มาเกือบ 200 ปี แต่ถึงอย่างนั้นเราก็ไม่เคยพบฟอสซิลของพลีซิโอซอร์ท้องมาก่อน” ความเห็นจาก โรบิน โอ'คีฟ (Robin O'Keefe) นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยมาร์แชล (Marshall University) ในฮันทิงตัน รัฐเวสต์เวอร์จิเนีย สหรัฐฯ ผู้ร่วมวิเคราะห์ฟอสซิลอายุ 78 ล้านปีกับ หลุยส์ ไชอาปเป (Luis Chiappe) จากพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา (Natural History Museum) ในเคาน์ตีลอสแองเจลิส ลอสแองเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย
       
       การออกลูกเป็นตัวและมีตัวอ่อนขนาดใหญ่นี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า พลีซิโอซอร์ต้องมีพฤติกรรมเลี้ยงดูลูกอย่างทนุถนอม โดย โอ'คีฟได้อธิบายให้เห็นภาพว่า แม่ของสัตว์ในยุคปัจจุบันอย่างช้าง วาฬ โลมา และรวมถึงมนุษย์ด้วยนั้นมีทายาทตัวโตเพียงไม่กี่ตัว และเมื่อเราโยนความเสี่ยงทั้งหมดลงในตะกร้าใบเดียวด้วยการมีลูกแค่หนึ่งเดียว จึงเป็นเรื่องเข้าใจได้ไม่ยากหากเราจะทุ่มเทความรักทั้งหมดให้ลูกน้อย
       
       โอ'คีฟชี้เฉพาะลงไปอีกว่า พลีซิโอซอร์อาจมีพฤติกรรมเหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลยุคปัจจุบัน ที่อาศัยอยู่รวมกลุ่มและมีชีวิตสังคมเพื่อปกป้องตัวอ่อน ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่แตกต่างจากสัตว์เลื้อยคลานในทะเลอื่นๆ ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ทั้งนี้ ฟังดูไม่สมเหตุสมผลนักว่า ลูกสัตว์เลื้อยคลานพันธุ์นี้พร้อมที่จะดูแลตัวเองทันทีหลังเกิดมาแล้ว เพราะกระดูกของตัวอ่อนบ่งชี้ว่า ลูกพลิซิโอซอร์นั้นไม่มีลักษณะทางกายภาพที่พึ่งพาตัวเองหลังเกิด
       
       อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันมีสัตว์เลื้อยคลาน 2-3 ชนิด อย่างเช่นจิ้งเหลนบางสายพันธุ์ก็ออกลูกที่มีขนาดตัวใหญ่ออกมาไม่กี่ตัว และยังแสดงพฤติรรมทางสังคมคล้ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอีกด้วย
       
       ในส่วนของ ไมเคิล เอเวอร์ฮาร์ท (Michael Everhart) ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์เลื้อยคลานทางทะเลก่อนยุคประวัติศาสตร์ จากพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาสเติร์นเบิร์ก (Sternberg Museum of Natural History) ในเฮย์ส คันซัส สหรัฐฯ ให้ความเห็นว่า ตัวอย่างฟอสซิลพลีซิโอซอร์นั้นเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้น และได้ช่วยตอบคำถามที่ค้างคามาหลายปี แต่ก็ยังเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าสัตว์เลื้อยคลานพันธุ์นี้มีพฤติกรรมทางสังคมและการสืบสายพันธุ์ที่แตกต่างจากสัตว์เลื้อยคลายทะเลชนิดอื่นๆ ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว โดยเขาอยากเห็นตัวอย่างมากกว่านี้อีกสัก 10 กว่าตัวอย่าง
       
       สำหรับตัวอย่างฟอสซิลพลิซิโอซอร์ตัวอย่างนี้ถูกค้นพบในคันซัสเมื่อปี ค.ศ.1987 โดยนักล่าฟอสซิลอิสระ และได้ถูกบริจาคให้แก่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาในเคาน์ตีลอสแองเจลิส ซึ่งเป็นสถานที่ตัวอย่างฟอสซิลถูกวางกองไว้ และเมื่อปีที่ผ่านมามีการตัดสินใจว่า ถึงเวลาที่ฟอสซิลนี้จะถูกนำไปจัดแสดงเสียที จากนั้นก็มีการส่งมอบเงินทุนเพื่อการเตรียมตัวอย่างและจัดแสดง และตอนนี้ฟอสซิลพลิซิโอซอร์ก็ถูกย้ายไปแสดงในโถงแสดงไดโนเสาร์ใหม่ของพิพิธภัณฑ์


ภาพวาดจำลองการเลี้ยงดูลูกของพลิซิโอซอร์ (เนเจอร์)

วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ใหม่!!! Wi-Fi ไร้สายไกลถึง 100 กม.!!

คุณผู้อ่านอาจจะคุ้นเคยกับมาตรฐานการเชื่อมต่อไร้สาย Wi-Fi 802.11 a/b/g/n ซึ่งเป็นที่นิยมใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน โดยต้องยอมรับว่า 802.11 ใช้งานได้ดี และไม่ต้องคอยกังวลว่าจะมีมาตรฐานใหม่ออกมาแล้วทำให้เราท์เตอร์ของคุณใช้ไม่ได้ แต่แล้ว IEEE ก็ได้ประกาศมาตรฐานใหม่สำหับการเชื่อมต่อไร้สายที่เรียกว่า 802.22 ที่ออกแบบให้สามารถใช้ประโยชน์จากสเป็กตรัมสัญญาณของการบรอดแคสต์ใหม่ที่อยู่ระหว่าง 54MHz ไปจนถึง 698MHz (ความถี่ที่ใช้กับแพร่สัญญาณภาพแอนาล็อกทีวีในสหรัฐอยู่ที่ 700MHz)

ด้วยเหตุที่ใช้ความถี่ในย่านใกล้เคียงกับทีวีแอนาล็อก ทำให้มาตรฐานการเชื่อมต่อไร้สายแบบใหม่สามารถส่งคลื่นออกไปได้ไกลกว่าเดิมหลายเท่าตัว โดย 802.22 Wi-Fi จะสามารถเชื่อมต่อด้วยความเร็วของข้อมูลสูงถึง 22 Mbps ในระยะ 62 ไมล์ (ประมาณ 100 กิโลเมตร) ด้วยเบสสเตชันตัวเดียว ซึ่งทำให้ง่ายต่อการให้บริการบรอดแบนด์ไร้สายในเมืองเล็กๆ โดยล่าสุดมาตรฐานดังกล่าวได้ผ่านการรับรองแล้ว นั่นหมายความว่า บริษัทต่างๆ ก็สามารถเริ่มผลิตเราท์เตอร์ที่ใช้เทคโนโลยี 802.22 นี้ได้แล้ว

สื่อเวียดนามเกาะติด อภิมหาเรือจีน ใหญ่บักเอ้กคับช่องแคบมะละกา


อภิมหาแห่งฐานทัพลอยน้ำ-- หากสร้างได้จริงเรือลำนี้จะทำให้น่านน้ำทะเลจีนใต้แคบลงไปถนัด และอาจจะกลายเป็นวัตถุลอยน้ำใหญ่ที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยสร้างขึ้นมา เรือบรรทุกเครื่องบินในอุดมคติของจีนลำนี้อาจจะมีปัญหามากหากเข้าช่องแคบมะละกา นอกจากนั้นมันยังจะเป็นเป้าอันโดดเด่นของขีปนาวุธนิวเคลียร์อีกด้วย ทั้งหมดเป็นเสียงวิจารณ์ของผู้อ่านสื่อออนไลน์ในเวียดนามและเว็บไซต์ข่าวกลาโหมอีกหลายแห่ง.


ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- สื่อในเวียดนามเกาะติดแบบตาไม่กะพริบข่าวล่าสุด เรือบรรทุกเครื่องบินในฝันของจีน ซึ่งว่ากันว่าหากสร้างได้จริงก็จะเป็นสิ่งลอยน้ำใหญ่ที่สุด เท่าที่มนุษย์สร้างขึ้นมาในโลกนี้ และหลายคนกล่าวว่าหากนำเข้าประจำการก็จะกลายเป็นเป้าหมายที่โดดเด่นของขีปนาวุธนิวเคลียร์ 

ภาพเรือบรรทุกเครื่องบินจีนที่ยังเป็น “คอนเซ็ปต์” นี้ เผยแพร่ในเว็บไซต์หลายแห่งของจีนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สื่อออนไลน์ในเวียดนามนำออกเผยแพร่ต่อพร้อมกับเปิดให้ผู้อ่านวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง

คาดว่า เรือบรรทุกเครื่องบินในมโนภาพที่ประกอบด้วย 2 กระดูกงู และมีทางวิ่งขึ้นลงของเครื่องบินถึง 2 รันเวย์นี้ อาจจะมีระวางขับน้ำถึง 300,000 ตัน หรือ เท่าๆ กับเรือน้ำมันขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีใช้อยู่ในโลกปัจจุบันถึง 3 ลำ

ภาพเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดมหึมา ที่ประกอบด้วย 2 กระดูกงูนี้ แพร่ออกมาหลังจากมีการเปิดเผยว่า จีนมีแผนจะสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินของตนเองจำนวน 2 ลำ และในปัจจุบันอาจจะเริ่มก่อสร้างลำแรกแล้ว

ส่วนเรือบรรทุกเครื่องบินที่ซื้อจากสาธารณรัฐยูเครนและกำลังฟื้นฟูและก่อสร้างเพิ่มเติมขึ้นใหม่ในขณะนี้ จะใช้เพื่อการศึกษาวิจัยและการฝึกซ้อมเท่านั้น

ภาพวาดเรือบรรทุกเครื่องบินในอุดมคติของจีน ซึ่งว่ากันว่า อาจจะกลายเป็นจริงได้ใน 15-20 ปี ยังแพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง ในเว็บไซต์การทหารและการกลาโหมหลายแห่ง และ กำลังได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง

“ถ้าหากสร้างขึ้นมาจริงก็จะมีปัญหามากเมื่อจะเข้าช่องแคบมะละกาไปมหาสมุทรอินเดีย นอกจากนั้นอินเดียคงจะไม่ยอมให้ฐานทัพใหญ่มหึมาขนาดนี้เข้าใกล้น่านน้ำของตน ญี่ปุ่นกับเกาหลีก็คงไม่ต่างกัน เพราะไม่อบขี้หน้าจีนอยู่แล้ว” ผู้อ่านคนหนึ่งแสดงความเห็น

ผู้อ่านอีกจำนวนหนึ่งดูภาพเรือบรรทุกเครื่องบินยักษ์ด้วยความขบขัน โดยไม่เชื่อว่า จะมีความน่าเกรงขามอะไร เนื่องจากขนาดใหญ่โตของมันตกเป็นเป้าถูกโจมตีได้โดยง่าย นอกจากนั้นยังจะต้องใช้กองกำลังและระบบป้องกันที่มีขนาดใหญ่โตทันสมัยมาก รวมทั้งต้องใช้บุคลากรที่ฝึกอย่างดี

นอกจากนั้น จะต้องใช้เตาปฏิกรณ์ปรมาณูที่ใหญ่โตมากในการให้พลังงานเพื่อการขับเคลื่อน และ “ทันที่ที่สตาร์ทเครื่องโซนาร์ในแถบเอเชียไปจนถึงซานติเอโก (แคลิฟอร์เนีย) ก็จะจับเสียงของมันได้หมด” ผู้อ่านคนหนึ่งกล่าว

ผู้อ่านอีกคนหนึ่ง บอกว่า ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ที่ออกแบบให้อยู่ใต้ชั้นดาดฟ้าลงไปในส่วนท้ายของลำเรือ ทำให้เสี่ยงต่อการที่จะถูกลมหอบไปปะทะกับลำเรือทำให้เกิดอุบัติเหตุ วิธีป้องกันจะต้องขยายลานจอดให้กว้างเป็นการสิ้นเปลืองพื้นที่

อีกคนหนึ่งกล่าวว่า การใช้สองกระดูกงูจะทำให้ลำบากในการเคลื่อนย้ายเครื่องบินลงเก็บในโรงจอดข้างล่าง เพราะในสภาพที่ใช้งานจริงจะมีหลายโอกาสที่จะต้องจะต้องนำเครื่องข้ามรันเวย์ไป และ ยังยากต่อการเคลื่อนไหวนำเครื่องขึ้นสู่ลานบินข้างบน

ผู้อ่านอีกคนหนึ่งวิจารณ์อย่างอารมณ์ดีว่า ช่องว่างระหว่างกระดูกงูอาจจะลากเรือดำน้ำพ่วงเข้าไปได้ถึง 4 ลำ กับ เรือเล็กอื่นๆ อีกกว่า 10 ลำ จึงจะคุ้มกับการใช้งาน




อินเทล นำเสนอ “Ivy Bridge” ชิปประมวลผลเทคโนโลยี 22 นาโน แบบ 3มิติ

อินเทลนำเสนอแพลตฟอร์ม ไอวีบริดจ์ (Ivy Bridge) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีไมโครโพรเซสเซอร์ ที่มีโครงสร้างทรานซิสเตอร์แบบ 3มิติ หรือ “Tri-Gate” (ดูวิดีโอประกอบจะเห็นโครงสร้างนี้) ขึ้นมาใช้งาน และเป็นการพัฒนาต่อจากแซนดีบริดจ์ (Sandy Bridge) ที่ใช้เทคโนโลยี 32 นาโนเมตร โดยปรับให้เล็กลงระดับ 22 นาโนเมตร เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและลดพลังงานลงจากเดิม และรองรับการทำงานที่เร็วขึ้นโดยเฉพาะบริการ Cloud-based ที่กำลังจะมีขึ้นในอนาคตข้างหน้าสำหรับมือถือ ดูวิดีโอประกอบครับ

credit:http://www.imaicafe.com/2011/05/05/intel-ivy-bridge-platform-to-utilize-3d-transistors/

ไขความลับ แหวนเหล็กบิดเบี้ยว ของ โทมัส เอดิสัน






เมื่อปี 1967 มีการค้นพบ แหวนดีบุกบิดๆเบี้ยวๆ อยู่วงหนึ่งในก้นลิ้นชัก ภายในห้องแล็ปของ โทมัส เอดิสัน ไม่มีใครรู้ว่ามันคืออะไร มีไว้ทำอะไร แต่ด้วยมันเป็นสมบัติของ เอดิสัน มันจึงถูกเก็บรักษาไ้ว้ และความลับนับร้อยปี ก็คลี่คลายในที่สุด

หลังจากที่มันถูกสร้างมา 123 ปี แหวนบิดๆเบี้ยวๆ กับ ความลับของก็ถูกไขออกได้ เมื่อใช้เทคโนโลยีการถ่ายภาพคุณภาพสูง ก็พบว่ามันมีร่องขนาดเล็กที่เหมือนได้จากเครื่องบันทึกเสียงแบบ โฟโนกราฟ(Phonograph เครื่องบันทึกเสียงแบบใช้คลื่นเสียงไปขยับเข็มให้กีดลงเนื้อท่อจนเกิดเป็นร่อง โดยร่องก็คือข้อมูลเสียงที่ถูกบันทึกไว้นั้นเอง)

วงแหวนดังกล่าว มีเนื้อวัสดุเป็นดีบุก(โลหะเนื้ออ่อนสามารถ กีดให้เกิดร่องได้ง่าย) เส้นรอบวง 2.5 นิ้ว เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 นิ้ว ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นแถบบันทึกเสียง
แหวนบิดเบี้ยวนี้บันทึกถ้อยคำว่า "Twinkle Twinkle Little Star" ซึ่งเป็นเนื้อเพลง มีความยาว 12 วินาที เพื่อไว้ใช้ในการสร้าง ตุ๊กตาพูดได้ ตัวแรกของโลก และถือเป็นก้าวย่างแรกของวงการบันทึกเสียงใน สหรัฐครั้งแรก

แต่เทคโนโลยี่นั้น ก้าวเดินอย่างรวดเร็ว และงานนี้ เอดิสัน นั้นก้าวช้าไปก้าวหนึ่ง จึงมีเทคโนโลยี่บันทึกเสียงบนขี้ผึ้ง(Wax recording) ในปี 1890 มาทดแทน วงแหวนเหล็กบันทึกเสียงนี้จึงไม่เคยถูกนำมาผลิตเป็นตุ๊กตาพูดได้ ออกวางจำหน่าย

เนื่องจากแหวนวงนี้บิดเบี้ยวเกินกว่าจะนำไปเล่นบนเครือง โฟโลแกรม ได้อีก แต่ด้วยเทคโนโลยี่สมัยใหม่ นักวิทยาศาสาตร์จาก the Lawrence Berkeley National Laboratory ใน Berkeley รัฐแคลิฟอร์เนียได้ใช้การวิเคราะห์จากภาพขยาย เพื่อแกะสิ่งที่ถูกบันทึกไว้บนวงแหวน แล้วจัดทำเป็นรูปแบบเสียง ดิจิตอลไฟล์ ขึ้นมาใหม่

เมื่อมองด้านข้างจะเห็นว่ามีร่องเล็กอยู่โดยรอบ

เมื่อทำการส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะเห็นร่องอย่างชัดเจนที่เกิดจากเครื่องบันทึกเสียงแบบ โฟโลแกรม







วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ถอดมุมมองผู้พบ “พัลซาร์” จริงหรือโลกดับ 2012 ?

ความเชื่อเรื่องโลกพบจุดจบในปี 2012 แพร่ระบาดในอินเทอร์เน็ต


จริงหรือโลกดับในปี 2012? จากมุมมอง “โจเซลิน เบล เบอร์เนล” นักดาราศาสตร์หญิงจากอังกฤษผู้พบ “พัลซาร์” ยกปรากฏการณ์บนท้องฟ้ามาวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล ตั้งแต่ดวงอาทิตย์กลับขั้วแม่เหล็ก พายุสุริยะ สนามแม่เหล็กโลกกลับทิศทาง การเรียงตัวของดาวเคราะห์ ความเชื่อเรื่องดาวนิบิรุและดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลก รวมถึงโลกถูกดูดเข้าสู่หลุ่มดำใจกลางกาแลกซี

     
       ศาสตราจารย์ท่านผู้หญิงโจเซลิน เบล เบอร์เนล (Dame Jocelyn Bell Burnell) คือ นักดาราศาสตร์วิทยุจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด (University of Oxford) สหราชอาณาจักร ผู้พบสัญญาณ “พัลซาร์” (Pulsar) หรือ “ดาวนิวตรอน” ที่แผ่คลื่นวิทยุออกมาเป็นห้วงตามอัตราการที่ดาวหมุนรอบตัวเอง คล้ายๆ กับการส่องแสงของประภาคารเมื่อปี ค.ศ.1967 ขณะทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (University of Cambridge)
     
       ศาสตราจารย์เบอร์เนลได้ใช้เสารับสัญญาณวิทยุศึกษาปรากฏการณ์ดาราศาสตร์และได้พบสัญญาณพัลซาร์ ซึ่งเบื้องต้นเธอเข้าใจว่าเครื่องมือขัดข้อง แต่เมื่อพบสัญญาณเดียวกันจากอีกแหล่งกำเนิดทำให้เธอแน่ใจว่าเครื่องมือไม่ได้มีปัญหา และการค้นพบครั้งนั้นยังทำให้ ศ.แอนโทนี ฮิวอิช (Prof.Antony Hewish) อาจารย์ที่ปรึกษาของเธอในขณะนั้น และ ศ.มาร์ติน ไรล์ (Prof.Martin Ryle) ได้รับรางวัลโนเบล
     
       ปัจจุบัน ศ.เบอร์เนลล์ไม่ได้ทำวิจัยเกี่ยวกับพัลซาร์แล้ว แต่ยังคงติดตามการศึกษาเรื่องนี้อยู่ และนอกจากเป็นนักดาราศาสตร์แล้ว เธอยังเดินสายบรรยายพิเศษเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านดาราศาสตร์ไปทั่วโลกปีละ 30-40 ครั้ง หากแต่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเธอได้รับคำถามถี่ๆ ว่า “จริงหรือไม่? โลกจะถึงกาลอวสานในปี 2012” จึงเป็นแรงผลักให้เธอตัดสินใจเผยแพร่ข้อมูลที่จะช่วยระงับความตื่นตระหนกต่อเหตุการณ์วันสิ้นโลก ซึ่งมีแรงกระตุ้นมาจากภาพยนต์ดัง
     
       ล่าสุดเธอได้เดินทางมาบรรยายในมุมมองดาราศาสตร์ต่อกระแสตื่นกลัววันสิ้นโลกในปี 2012 ภายในการประชุมวิชาการสหพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 11 (APRIM2011) ซึ่งจักขึ้นเมื่อปลายเดือน ก.ค.54 ณ ศูนย์การประชุมนานาชาติเอ็มเพรส จ.เชียงใหม่ และทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ ได้ร่วมฟังการบรรยายดังกล่าวด้วย
     
       กระแสวันสิ้นโลกในปีหน้านั้นเริ่มจากการนำเสนอว่าปฏิทินรอบยาว (Long Count) ของชาวมายาจะสิ้นสุดลงในวันที่ 21 ธ.ค.2012 ซึ่งมีหลายปรากฏการณ์ที่ถูกดึงมาสนับสนุนวาระสุดท้ายของโลก ทั้งปรากฏการณ์แผ่นดินไหว พายุ ภูเขาไฟระเบิด แต่ในฐานะนักดาราศาสตร์ ศ.เบอร์เนลล์ ได้ยกประเด็นด้านดาราศาสตร์ที่หลายคนเชื่อว่าจะเป็นสาเหตุของหายนะทำลายล้างโลก
     
       ดวงอาทิตย์ส่งผลทำลายล้างโลก (จริงหรือ?)
       มีความกังวลว่าการกลับขั้วแม่เหล็กของดวงอาทิตย์จะทำให้เกิดพายุสุริยะที่รุนแรง แต่ข้อเท็จจริงคือดวงอาทิตย์มีการกลับขั้วแม่เหล็กทุกๆ 11 ปี โดยปรากฏการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นอีกครั้งในปี 2021 ไม่ใช่ปี 2012 นอกจากนี้เรายังไม่พบว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวมีผลกระทบรุนแรงต่อมนุษย์ ส่วน “จุดมืด” (Sunspot) ที่กังวลว่าจะส่งผลต่อการเกิดพายุรุนแรงนั้น จากข้อมูลที่มีการศึกษาวัฏจักรดวงอาทิตย์พบว่า ในบางวัฏจักรที่มีจุดมืดเยอะนั้นไม่ได้เกิดพายุสุริยะมากตามไปด้วย
     
       “จุดมืดนี้มาและไปทุกๆ 11 ปี ที่บริเวณดังกล่าวจะเย็นกว่าบริเวณอื่นบนดวงอาทิตย์เล็กน้อย และเมื่อเทียบขนาดกับโลกจุดดังกล่าวมีขนาดใหญ่กว่า คุณอาจคาดไว้ว่าเมื่อมีจุดมืดมากก็จะมีพายุสุริยะมากด้วย แต่จริงๆ แล้วทั้งสองปรากฏการณ์ไม่ได้สัมพันธ์กัน สำหรับปริมาณจุดมืดมากสุดบนดวงอาทิตย์จะเกิดขึ้นราวปลายปี 2013 ไม่ใช่ปี 2012 คาดว่ามีพายุสุริยะน้อยกว่าที่ผ่านมา และผลกระทบอาจทำให้มือถือและดาวเทียมทำงานได้ไม่เต็มที่นัก เมื่อถึงวันนั้นจำไว้ว่าคุณต้องหาวิธีเดินทางได้โดยไม่พึ่งจีพีเอส” ศ.เบอร์เนลล์กล่าว
     
       สนามแม่เหล็กกลับทิศโลกปั่นป่วน?
       “สนามแม่เหล็กโลกกลับทิศอยู่ตลอดเวลาโดยครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อ 750,000 ปีก่อน ขณะที่มนุษย์ที่เริ่มรู้จักใช้เครื่องมือเกิดขึ้นบนโลกเมื่อ 2.5 ล้านปีก่อน จากเวลาดังกล่าวมาถึงทุกวันนี้มีการกลับทิศสนามแม่เหล็กแล้ว 11 ครั้ง และเราก็ยังคงอยู่ ไม่ปรากฏว่ามีการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ และคล้ายว่าเมื่อสนามแม่เหล็กโลกกลับทิศจะพบว่าสนามแม่เหล็กอ่อนเล็กน้อยก่อนการกลับทิศ” นักดาราศาสตร์หญิงจากออกซ์ฟอร์ดกล่าว
     
       ทั้งนี้ การกลับทิศของสนามแหล็กใช้เวลาถึง 5,000 ปีจึงแล้วเสร็จ โดยเริ่มจากสนามแม่เหล็กอ่อนลงอย่างช้าๆ และปัจจุบันสนามแม่เหล็กกำลังอ่อนลงปีละ 5% ซึ่งอาจถึงเรากำลังเข้าสู่ช่วงการกลับทิศสนามแม่เหล็กใหม่ แต่ปรากฏการณ์ดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนทิศทางการหมุนของโลก
     
       หายนะจากดาวเคราะห์-ดาวนิบิรุ?
       ในปี 2012 ไม่มีการเรียงตัวของดาวเคราะห์แต่อย่างใด และแม้จะมีการเรียงตัวของดาวเคราะห์ก็ไม่ส่งผลกระทบทั้งต่อแรงดึงดูดหรือแรงน้ำขึ้นน้ำลงบนโลก หากทำแผนภูมิวงกลมแสดงอิทธิพลของดึงดูดที่กระทำต่อโลกจะพบว่าดวงอาทิตย์มีอิทธิพลมากที่สุด และดวงจันทร์มีผลกระทบรองลงมา ส่วนดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ส่งผลกระทบน้อยมากจนไม่มองเห็นผลที่แสดงบนแผนภูมิ ส่วนแรงน้ำขึ้นน้ำลงนั้นดวงจันทร์ส่งอิทธิพลมากสุดตามมาด้วยดวงอาทิตย์
     
       ในอดีตเคยมีการเรียงตัวของดาวเคราะห์ 5 ดวง คือเมื่อเดือน ก.พ.1962 และ เดือน พ.ค.2000 พร้อมกันนี้ ศ.เบอร์เนลล์ยังยกตัวอย่างการเรียงตัวของดาวเคราะห์เมื่อวันที่ 1 ธ.ค.2008 ซึ่งปรากฏดวงจันทร์ ดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดีเรียงกันบนฟ้า กลายเป็นภาพ “พระจันทร์ยิ้ม” ที่หลายคนประทับใจ
     
       นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับ “ดาวนิบิรุ” (Nibiru) ที่เล่ากันว่าชาวสุเมเรียนสังเกตพบดาวเคราะห์ดังกล่าวเมื่อ 2,500 ปีก่อนคริสตกาล และพบว่าคาบโคจรของดาวเคราะห์ดวงนี้คือ 3,600 ปี โดยมีวงโคจรที่เป็นวงรีค่อนข้างมาก ซึ่งดาวเคราะห์ดวงนี้จะชนโลกในวันที่ 21 ธ.ค.2012
     
       ทั้งนี้ ชาวสุเมเรียนเห็นดาวนิบิรุด้วยตาเปล่าจากการสะท้อนแสงของดวงอาทิตย์ เพราะยุคนั้นยังไม่มีอุปกรณ์ช่วยในการศึกษาวัตถุบนท้องฟ้า แต่ดาวเคราะห์ดวงนี้มีระยะไกลกว่าดาวพลูโต 10 เท่า ในขณะที่เราไม่สามารถมองเห็นดาวพลูโตได้ด้วยตาเปล่า ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่ชาวสุเมเรียนจะมองเห็นดาวดวงนี้
     
       อีกทั้งเรื่องเล่ายังบอกอีกว่าดาวเคราะห์ดวงนี้อยู่ห่างออกไป 400 หน่วยดาราศาสตร์ ซึ่งระยะ 1 หน่วยดาราศาสตร์คือระยะระหว่างโลกถึงดวงอาทิตย์หรือ 150 ล้านกิโลเมตร หากเรามองดาวเคราะห์ที่ระยะดังกล่าวด้วยแสงสะท้อน จะต้องมีดวงอาทิตย์มากถึง 150 ดวง
     
       “ดังนั้น มันไม่ใช่ดาวเคราะห์ แล้วเป็นดาวแคระน้ำตาล (Brown Dwarf) ได้ไหม? ถ้าเรามองเห็นดาวดวงนั้นที่ระยะ 400 หน่วยดาราศาสตร์ได้ แสดงว่ามันต้องเป็นดาวฤกษ์หรือดาวเคราะห์ที่สว่างมากๆ และคนบอกว่าตอนนี้ดาวนิบิรุอยู่ห่างออกไป 7 หน่วยดาราศาสตร์ ซึ่งหากเราเคยเห็นมันที่ระยะไกลกว่านี้ ตอนนี้ดาวนิบิรุต้องสว่างมากพอๆ กับดวงจันทร์และมองเห็นได้ตาเปล่าในตอนกลางวัน แต่ไม่มีใครเห็น ดังนั้น มันไม่มีจริง เป็นแค่เรื่องแต่ง” ศ.เบอร์เนลล์สรุปว่าความเชื่อดังกล่าวไม่เป็นจริง
     
       สูญพันธุ์เมื่อ “ดาวเคราะห์น้อย” พุ่งชนโลก?
       อุกกาบาตผ่านสู่ชั้นบรรยากาศโลกทุกวัน บางครั้งทำให้เกิดดาวตกลูกไฟ (fireball) บางครั้งทำให้เกิดหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่และเมื่อ 65 ล้านปีก่อนดาวเคราะห์น้อยขนาด 100 กิโลเมตร พุ่งชนโลกซึ่งทำให้เกิดหลุมอุกกาบาตชิกซูลูบ (Chicxulub) ในเม็กซิโก และเชื่อว่าเป็นสาเหตุให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ จึงมีโครงการเฝ้าระวังทางอวกาศเพื่อเฝ้าระวังดาวเคราะห์น้อยที่เคลื่อนมาเข้าใกล้โลก
     
       ศ.เบอร์เนลล์กล่าวว่า ปัจจุบันมีการเฝ้าจับตาวัตถุขนาดใหญ่กว่า 200 เมตรประมาณ 1,000 วัตถุที่เคลื่อนมาเข้าใกล้โลกในระยะ 20 เท่าของระยะทางระหว่างโลกและดวงจันทร์ ซึ่งหากจะมีอะไรพุ่งชนโลกในเดือน ธ.ค.2012 ตอนนี้เราต้องทราบข้อมูลนั้นแล้ว แต่เรายังไม่พบว่าจะมีการพุ่งชนของดาวเคราะห์น้อย และหากทราบว่ามีเราจะเตรียมรับมือด้วยการหาทางเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์น้อยเหล่านั้น แต่ไม่ใช่การระเบิดทิ้งเพราะจะทำให้เกิดวัตถุอีกหลายพันชิ้นให้เฝ้าจับตาดู
     
       ฤๅโลกจะถูก “หลุมดำ” กลืนกิน?
       ในกาแลกซีทางช้างเผือก (Milky Way) ของเรานั้นมี “หลุมดำ” อยู่ใจกลางเหมือนกาแลกซีอื่นๆ ในเอกภพ แต่เรามองไม่เห็นรูปร่างของมัน ทั้งนี้ หลุมดำใจกลางกาแลกซีของเรานั้นอยู่ไกลออกไป 26,000 ปีแสง นั่นหมายความว่าหากโลกเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่าแสงยังต้องใช้เวลาถึง 26,000 ปีจึงจะไปถึงหลุมดำ ซึ่ง ศ.เบอร์เนลล์กล่าวอย่างมั่นใจว่าเราจะไม่ถูกดูดเข้าไปในหลุมดำอย่างแน่นอน
     
       สำหรับจุดจบของโลกในมุมมองนักดาราศาสตร์ผู้พบพัลซาร์คือการที่เราไม่สามารถหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ได้ และท้ายที่สุดแล้วโลกก็จะพบจุดจบไปก่อนวาระสุดท้ายของดวงอาทิตย์ที่เป็นไปตามวัฏจักเกิด-ดับของดวงดาวในอีก 5 พันล้านปี นอกจากนี้ในอีก 3 พันล้านปีกาแลกซีของเราจะชนกับกาแลกซีแอนโดรมีดา (Andromeda) ซึ่งเราคงมีโอกาสรอดหากเราหาที่อยู่ใหม่ได้

ตัวอย่างพัลซาร์ที่บันทึกด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (hubblesite.org)
ศาสตราจารย์ท่านผู้หญิงโจเซลีน เบลล์ เบอร์เนลล์

credit:http://manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000094912

สิ่งมีชีวิตอยู่ที่ขั่วโลกเหนือ-ใต้


ลงพื้นที่สำรวจเขตต้องห้าม “เชอร์โนบิล”



หลังเกิดอุบัติเหตุเมื่อปี 1986 รอบๆ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลกลายเป็นพื้นที่ต้องห้ามในเข้าไปอยู่อาศัย พื้นที่ดังกล่าวปนเปื้อนไปด้วยฝุ่นรังสีและกลายเป็นพื้นที่รกร้าง ล่าสุดบีบีซีได้ลงพื้นที่สำรวจร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาผลกระทบจากการปนเปื้นทางรังสีต่อสิ่งมีชีวิตที่นั่น ไปดูกันว่าผ่านไป 25 ปีพื้นที่ดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง




สัตว์หลายชนิดโดยเฉพาะนกใช้ประโยชน์จากอาคารว่างเปล่า นักนิเวศวิทยาหลายคนกล่าวว่า การไม่มีมนุษย์อาศัยอยู่ในพื้นที่เหล่านี้ทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพค่อยๆ เพิ่มขึ้น แต่ก็มีทีมนักวิจัยบางกลุ่มที่บอกว่าพวกเขาพบหลักฐานของผลกระทบที่แฝงจากการปนเปื้อน





ทีมนักวิทยาศาสตร์เข้าสำรวจพื้นที่ป่าเรดฟอเรสต์ (Red Forest) ซึ่งมีพื้นที่บางส่วนที่มีการปนเปื้อนรังสีค่อนข้างสูง โดยไกร์ รูดอล์ฟเซน (Geir Rudolfsen) จากสำนักการป้องกันการแผ่กระจายทางรังสีนอร์เวย์ (Norwegian Radiation Protection Authority) ได้มาสำรวจภาวะเจริญพันธุ์ของนักในพื้นที่ดังกล่าวและบอกว่าป่าในบริเวณที่มีการปนเปื้อนสูงนั้นมีการเจริญพันธุ์ที่น้อยผิดปกติ




ทีมนักวิทยาศาสตร์ลงสำรวจพื้นที่ซึ่งห่างจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เสียหายไม่ถึง 1 กิโลเมตร ในบริเวณที่มีการเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ปนเปื้อนทางรังสีและพื้นที่ซึ่งค่อนข้างปนเปื้อนน้อยกว่า พวกเขาพบว่าในพื้นที่ซึ่งปนเปื้อนทางรังสีมากกว่ามีสัตว์อาศัยอยู่น้อยกว่า





ในขณะที่ทีมสำรวจหลักเตรียมตาข่ายเพื่อดักจับนก สมาชิกบางคนวางกับดักแบบไม่อันตรายเพื่อจับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและตรวจวัดการแผ่รังสีในทุกจุดที่วางกับดัก





ในค่ายพักชั่วคราว ทีมสำรวจได้ทำการบันทึกรายละเอียดของนกทุกตัวที่ดักจับได้ด้วยตาข่าย โดยพวกเขาทำการวัด ชั่งน้ำหนักและเก็บตัวอย่างเลือดจากสัตว์ทุกตัวที่จับได้





ระหว่างออกสำรวจทีมนักวิทยาศาสตร์พบฝูงม้าป่าพรีวอลสกี (Przewalski) ซึ่งปล่อยสู่พื้นที่ต้องห้ามเมื่อปี 1998 และมีความหวังว่าม้าที่ตกอยู่ในวิกฤตเสี่ยงสูญพันธุ์นี้จะเจริญเติบโตได้ในพื้นที่ปลอดมนุษย์ พวกมันกำลังขยายพันธุ์ แต่นักวิทยาศาสตร์ในยูเครนกล่าวว่าพวกมันก็ยังคงถูกคุกคามจากการบุกรุกเข้าไปล่า





ในหมู่บ้านโคพาชิ (Kopachi) ของยูเครนซึ่งเป็นหนึ่งในหมู่บ้านที่อยุ่ใกล้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มากที่สุด มีโรงเรียนประถมเป็นสิ่งปลูกสร้างเดียวที่เหลืออยู่ ภายในนั้นยังคงมีร่องรอยของเล่น อุปกรณ์วาดเขียน และหนังสือหลงเหลือหลังจากเด็กๆ ถูกอพยพออกไป





ร่องรอยส่วนหนึ่งของเมืองปริพยาต (Pripyat) เมืองที่ใหญ่ที่สุดซึ่งกลายเป็นพื้นที่ต้องห้าม ซึ่งหลังจากเกิดอุบัติเหตุผู้คนกว่า 50,000 คน ได้อพยพออกไป ถึงทุกวันนี้เป็นเรื่องยากที่จะบอกว่าเมืองแห่งนี้สิ้นสุดและเริ่มต้นที่จุดใด





ชิงช้าสวรรค์ของเมืองปริพยาตหรืออีกชื่อหนึ่งคือ “เมืองผี” ไม่เคยถูกใช้งานจริง เพราะวันเปิดใช้งานห่างจากวันเกิดอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่กี่วัน ทุกวันนี้นักท่องเที่ยวที่จะเข้าไปเมืองร้างนี้ต้องสวมหน้ากากกันฝุ่นปนเปื้อนทางรังสี