เป็นกระแสร้อนแรงทันที เมื่อ “กูเกิล” เบียดเวลาจากการทำศึกสงครามโอเอสบนสมาร์ทดีไวซ์ มาตั้งตัวเปิดศึกกับเจ้าพ่อโซเชียลมีเดีย “เฟซบุ๊ก” ของ “มาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก” ด้วยการคลอดโครงการ “กูเกิล พลัส” (Google+) ที่จัดเต็มทุกสิ่งอย่างที่มีในเฟซบุ๊ก แม้กระทั่งคอนเซ็ปต์ ทำให้ กูเกิล พลัส เป็นโซเชียลมีเดียสำหรับการแบ่งปันข้อความ รูปภาพ วิดีโอ หรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างเพื่อนและกลุ่มเพื่อน เฉกเช่นเดียวกับเฟซบุ๊ก จุดต่างที่ “กูเกิล” พยายามสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวขึ้นภายในโครงการกูเกิล พลัส หลังจากเคยล้มเหลวกับการต่อกรกับเฟซบุ๊กมาแล้ว ก็คือ เน้นเรื่องความเป็นส่วนตัวที่ดีกว่า “เฟซบุ๊ก” รวมถึงการพยายามนำบริการต่างๆ ที่กูเกิลเคยถือครองไว้ เช่น “Google Buzz” ฟังก์ชันเกี่ยวกับรูปภาพ “Picasa” หรือ “Google Talk” มาปัดฝุ่นพัฒนาใหม่และผูกรวมกับบริการบนสมาร์ทโฟนและระบบคลาวด์ พร้อมส่งบริการเหล่านั้นเข้าตบหน้าแย่งพื้นที่ความเป็นหนึ่งจากเฟซบุ๊กมาให้ได้ แน่นอนว่าเมื่อมีคนมากระตุกหนวดเจ้าพ่อ มีหรือเจ้าพ่อจะนิ่งเฉย เฟซบุ๊กจึงต้องรีบเข็น “ไม้ตาย” บริการใหม่ใน Project Spartan ออกมาสู้กับกูเกิลอย่างถึงพริกถึงขิง และทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่น่าจับตามองเกิดขึ้นมากมายในโลกของ 2 ยักษ์ใหญ่โซเชียลมีเดีย หน้าตา-ใช้งานคล้ายกัน แต่กลยุทธ์ต่างกัน สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจและเป็นเรื่องน่าขบคิดเกี่ยวกับหน้าตาและการใช้งานบางคำสั่ง อย่างการติดแท็กรูปของกูเกิล พลัส ที่ดูคล้ายคลึงกับเฟซบุ๊กราวกับแกะมาจากพิมพ์เดียวกัน ตรงจุดนี้นักวิเคราะห์หลายสำนักมองว่า เป็นเพราะความสำเร็จของบริการเฟซบุ๊กที่ปัจจุบันมีผู้ใช้ทั่วโลก 750 ล้านคน ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่คุ้นเคยกับหน้าตาของเฟซบุ๊กอยู่แล้ว อาจเป็นเหตุให้กูเกิลจำเป็นต้องออกแบบหน้าตารวมถึงการวางตำแหน่งต่างๆ ให้คล้ายกับหน้าเพจเฟซบุ๊ก เพื่อผู้ใช้ที่คิดจะย้ายจากเฟซบุ๊กมาสู่กูเกิล พลัส สามารถเรียนรู้การใช้งานได้รวดเร็วขึ้น ในส่วนกลยุทธ์ ถ้าดูเผินๆ แล้วเหมือนจะคล้ายกันด้วยแนวคิด “แบ่งปันสิ่งต่างๆ ไปยังเพื่อนหรือกลุ่มเพื่อน” แต่ถ้าวิเคราะห์ให้ลึกลงไปแล้วจะเห็นว่ามีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยตัวเฟซบุ๊กจะเน้นเรื่องของการเชื่อมโยงกลุ่มเพื่อนและตัวบุคคลเข้าหากันหรือพูดง่ายๆ ก็คือ ต้องการให้เรามีเพื่อนมากๆ มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนที่หลากหลายและเป็นเหตุผลทำให้ผู้ใช้ส่วนใหญ่ที่ใช้งานเฟซบุ๊กมักพบเจอเพื่อนเก่าสมัยอนุบาลหรือประถมได้ง่าย ในขณะที่กูเกิล พลัส จะเน้นรูปแบบการเข้าถึงความเป็นส่วนตัวเป็นหลัก อย่างการโพสต์ข้อความ รูปภาพ หรือแม้แต่ลิงค์เว็บไซต์ต่างๆ ผู้ใช้สามารถเลือกข้อความเหล่านั้นให้ไปปรากฏที่กลุ่มเพื่อนหรือตัวบุคคลใดก็ได้ เพราะฉะนั้น ระบบการจัดสรรกลุ่มเพื่อนที่เรียกว่า Circle จึงถูกชูโรงตั้งแต่โครงการกูเกิล พลัส ยังเป็นตัวอ่อน และดูเหมือนว่ากูเกิลจะชูเรื่องดังกล่าวเป็นจุดขายหลัก ซึ่งถึงแม้เฟซบุ๊กจะสามารถตั้งค่าความเป็นส่วนตัวได้เฉกเช่นกูเกิล พลัส แต่การตั้งค่าเหล่านั้นยุ่งยากและซับซ้อนเกินไป | |||||
สงครามฟีเจอร์ระอุ ด้วยความที่กูเกิล พลัส คลอดหลังเฟซบุ๊กอยู่หลายปี ทำให้กูเกิลสามารถนำข้อบกพร่องและช่องโหว่ต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นกับเฟซบุ๊กมาพัฒนาและต่อยอด ปรับปรุงโครงการกูเกิล พลัส ให้ดีกว่า ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือ เรื่องการเกิดระบบวิดีโอคอลผ่านหน้าเว็บเพจ ที่กูเกิลตั้งชื่อให้ว่า “Hangout” ซึ่งมาพร้อมความสามารถในการสนทนากลุ่มพร้อมกันได้ถึง 10 คน รวมถึงความสามารถในการดึงคลิปยูทูปมาประกอบการสนทนา และฟีเจอร์เด็ดๆ อีกจำนวนมากที่เรียกความสนใจให้ขาโซเชียลเน็ตเวิร์กอยากทดลองใช้ ดังจะเห็นได้จากยอดขอเข้าใช้ กูเกิล พลัส ที่พุ่งสูงจนทางกูเกิลต้องจำกัดจำนวนคนที่สามารถสมัครกูเกิล พลัส ไว้เนื่องจากกูเกิลกลัวว่าเซิร์ฟเวอร์ที่เปิดให้ทดลองใช้งานจะรับจำนวนผู้ขอเข้าใช้บริการได้ไม่เพียงพอ เมื่อเรื่องดังกล่าวถึงหู เฟซบุ๊กมีหรือจะนิ่งเฉย เฟซบุ๊กจึงของัดไม้เด็ดเข้าจับมือกับสไกป์และเปิดบริการ Video Calling ขึ้นห่างจากเวลาที่กูเกิลเปิดทดสอบพลัสและ Hangout ไม่กี่วัน นอกจากนั้น ฟีเจอร์คลาวด์อย่าง Instant Upload ก็ถือเป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์ชูโรงที่กูเกิลตั้งใจงัดข้อกับ Facebook Upload ด้วยการพยายามผนวกบริการ Picasa ที่กูเกิลเปิดตัวมาอย่างเงียบๆ หลายปี กับกูเกิล พลัส ไว้ด้วยกัน โดยระบบดังกล่าวมีข้อดีอยู่ที่ความสามารถในการดึงรูปภาพจากสมาร์ทโฟนที่ลงแอปฯ กูเกิล พลัส ไว้มาเก็บบน Private Album ในระบบคลาวด์ของกูเกิลอย่างอัตโนมัติ คล้ายการทำงานของ Photo Stream บน iOS 5 ทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกแชร์รูปภาพไปยังที่ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น อีกทั้งในอนาคตกูเกิลก็มีแผนจะนำบริการเว็บบล็อกชื่อของตนอย่าง Blogspot มาปรับปรุงและผนวกรวมกับกูเกิล พลัสเพื่อเข้างัดข้อกับฟีเจอร์ สมุดบันทึก (Notes) ของเฟซบุ๊กเช่นกัน ศึกพระรองสมาร์ทโฟน ถ้าจะกล่าวว่าหน้าตาโปรแกรมสำหรับใช้บนคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (เดสก์ท็อปเว็บ) ของเฟซบุ๊กและกูเกิล พลัส คือพระเอกที่กำลังฟาดฟันแย่งชิงความเป็นที่หนึ่ง พระรองตอนนี้ต้องโซเชียลมีเดียบนสมาร์ทโฟนที่ใช้แอปพลิเคชันเป็นตัวเชือดเฉือนกัน แต่จะแตกต่างกันในส่วนของการทำงานและการรองรับแพลตฟอร์มต่างๆ อย่างเฟซบุ๊กที่ครอบคลุมแพลตฟอร์มของสมาร์ทโฟนตั้งแต่ ไอโอเอส แอนดรอยด์ แบล็กเบอร์รี หรือแม้กระทั่งฟีเจอร์โฟนหลากหลายรุ่น ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของเฟซบุ๊กที่สามารถเข้าถึงได้ทุกกลุ่มคน แตกต่างจากแอปฯ กูเกิล พลัส ที่ในปัจจุบันยังรองรับแค่แอนดรอยด์โฟน และในอนาคตกับไอโอเอสเท่านั้น ส่วนด้านการทำงานของตัวแอปฯ หลักๆ สำหรับเฟซบุ๊กจะเน้นการทำงานให้เหมือนกับหน้าเดสก์ท้อปเว็บเป็นหลัก ลูกเล่นต่างๆ นอกเหนือจากหน้าเว็บจะไม่ถูกเน้นมากนัก ยกเว้นพวก 3rd Party จะพัฒนาขึ้นมาเอง ซึ่งต่างจากกูเกิล พลัส ที่มีดีกรีความเป็นผู้พัฒนาแอนดรอยด์โฟน ทำให้กูเกิลมองเห็นช่องทางมัดใจเหล่าสาวกสมาร์ทโฟนได้ง่ายกว่าเฟซบุ๊กและพยายามสร้างเครือข่ายสังคมที่สองขนานกับกูเกิล พลัส ในชื่อว่า Huddle ขึ้นมา Huddle นั้นเป็นทั้งแอปฯ และระบบแชตในกูเกิล พลัส ที่เด่นในเรื่องการทำงานได้ด้วยตัวของตัวเอง กล่าวคือ แอปฯ Huddle ในสมาร์ทโฟนที่ปัจจุบันมีเฉพาะระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ จะทำงานคล้ายกับแอปฯ ที่ใช้สนทนาอย่าง Whatsapp หรือ BBM ที่มีข้อดีอยู่ที่ระบบเตือนเมื่อมีข้อความเข้าแบบ Real Time ซึ่งต่างจาก Facebook Chat บนสมาร์ทโฟน (ที่ไม่ใช่ 3rd Party) จะเป็นเพียงฟีเจอร์ในแอปฯ ตัวหนึ่งเท่านั้น แต่สุดท้ายต้องอย่าลืมว่าเฟซบุ๊กสามารถรองรับแพลตฟอร์มได้ทั้งสมาร์ทโฟนและฟีเจอร์โฟนเกือบทุกรุ่น ในขณะที่กูเกิล พลัส จะเน้นรองรับเพียงแค่สมาร์ทโฟน ซึ่งกูเกิลมองว่าในอนาคตมีโอกาสเติบโตได้สูงกว่าฟีเจอร์โฟนที่นับวันจะเริ่มสูญหายไป | |||||
ด้วยจุดประสงค์และการใช้งานที่คล้ายกัน แต่แตกต่างกันที่กลยุทธ์ ทำให้ทั้งเฟซบุ๊กและกูเกิล พลัส เป็นคู่แข่งที่คงต้องฟาดฟันแย่งความเป็นที่หนึ่งกันอีกนาน ถ้าวิเคราะห์ศึกครั้งนี้ ดูจากภายนอกแล้วเหมือนกูเกิล พลัส จะถือไพ่เหนือกว่าเฟซบุ๊กในเรื่องฟีเจอร์ที่สดใหม่ และตอบสนองความเป็นโซเชียลมีเดียได้ดีกว่า เช่น หลายๆ จุดที่มีผู้ใช้เฟซบุ๊กมักบ่นมาเนิ่นนานอย่างเรื่องความไม่เป็นส่วนตัว หรือ เรื่องของแอปฯ บนสมาร์ทโฟนที่พัฒนาออกมาแบบสุกเอาเผากิน จนผู้ใช้หันไปพึ่งแอปฯ จากบริษัทอื่น (3rd Party) แต่ในกูเกิล พลัส เรื่องเหล่านั้นได้ถูกแก้ไขทั้งหมด แถมยังได้ความเป็นโซเชียลสไตล์มือถือติดตั้งมาให้ใช้งาน จนมีหลายความคิดเห็นกล่าวเหน็บแนมกูเกิล พลัส ว่า “เป็นเฟซบุ๊กเวอร์ชันใหม่ ที่กูเกิลพัฒนา” เพราะด้วยหน้าตาที่ดูเหมือนลอกกันมา และระบบบางส่วนอย่างการสั่งแท็กรูป หรือพวกฟังก์ชันแนะนำเพื่อนใหม่แบบอัตโนมัติที่เคยเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเฟซบุ๊กก็ถูกบรรจุมาบน กูเกิล พลัส ด้วย แต่ทั้งนี้ใช่ว่าของใหม่บนโลกโซเชียลเน็ตเวิร์กจะดีกว่าเสมอไป เพราะอย่าลืมว่าเฟซบุ๊กมีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก และมีชื่อเสียงสั่งสมมานาน ยิ่งนับรวมกับแอปพลิเคชันภายในอย่าง เกม หรือ Quiz ต่างๆ ที่มีบริษัทผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงจากภายนอกหันมาพัฒนาอย่างจริงจัง และมีผู้ใช้บางกลุ่มที่ไม่ใช่ขาโซเชียลให้ความสนใจด้วยแล้ว งานนี้กูเกิลที่กำลังอยู่ในช่วงจุดพลุให้โครงการพลัสอาจหืดขึ้นคอได้ เพราะเท่าที่สังเกตตอนนี้ โครงการกูเกิล พลัส ในรุ่นทดสอบยังเป็นเพียงโซเชียลมีเดียที่มีดีแค่รูปแบบการใช้งานและฟีเจอร์เด็ดๆ เท่านั้น แต่สำหรับเรื่องของแอปฯ และลูกเล่นต่างๆ ในกูเกิล พลัส ยังไม่มี เพราะกูเกิลยังไม่พร้อมจะแจก API ให้บรรดาผู้พัฒนาได้ในตอนนี้ หากนับรวมเสียงวิพากษ์วิจารณ์กูเกิล พลัส จากประชาชนผู้ใช้ทั่วไปตอนนี้ กูเกิล พลัส “สอบผ่านฉลุย”ในเรื่องฟีเจอร์และการใช้งาน แต่เรื่องความประทับใจแรกเห็นตั้งแต่รุ่นทดสอบ ซึ่งจำกัดเฉพาะผู้ใช้ที่มีบัญชี GMail เท่านั้น อีกทั้งด้วยการใช้งานครั้งแรกที่สร้างความงงงวยให้กับผู้ใช้ทั่วไป เพราะระบบ Circle และการอธิบายรูปแบบใช้งานที่หน้าแรกของเว็บไม่ชัดเจน งานนี้กูเกิลคงต้องทำการบ้านให้หนักกว่านี้และคงต้องยกให้เฟซบุ๊กอยู่เหนือกว่ากูเกิล พลัส ในเรื่องของรูปแบบการใช้งานไปก่อน ส่วนในเรื่องของฟีเจอร์และอนาคต เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว กูเกิล พลัส ก็อาจมีโอกาสเติบโตได้ดีกว่า credit: http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9540000086255 |
วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
“เฟซบุ๊ก VS กูเกิล พลัส” ใครเหนือกว่ากัน
Edward Teller บิดาของระเบิดไฮโดรเจน
Edward Teller
เกิด : 15 มกราคม ค.ศ.1908 ที่เมือง Budapest ในประเทศฮังการี
ตาย : 9 กันยายน ค.ศ.2003 ที่เมือง Palo Alto ในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ขณะมีอายุ 95
เมื่อเวลา 7.00 ของเช้าวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ.1952 สหรัฐอเมริกาได้ทิ้งระเบิดไฮโดรเจนลูกแรกของโลกบนเกาะ Elugelab ในมหาสมุทรแปซิฟิก ดอกเห็ดขนาดใหญ่ได้ถล่มทลายเกาะที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 0.5 กิโลเมตรจมหายไปในทะเล บรรดาผู้เชี่ยวชาญคาดคะเนว่าพลังระเบิดครั้งนั้นรุนแรงเท่าระเบิดปรมาณูที่เคยทำลายเมือง Hiroshima จนราบเรียบจำนวน 500 ลูก Edward Teller ซึ่งสังเกตดูบันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ Los Alamos ได้ส่งโทรเลขไปแสดงความยินดีกับความสำเร็จ และบอกว่า "It’s a boy"
อีก 2 ปีต่อมาระเบิดไฮโดรเจนลูกที่สองซึ่งมีพลังงานระเบิดรุนแรงกว่าเดิมได้ถูกทิ้งลงบนเกาะ Bikini ผลงานเหล่านี้ทำให้ E. Teller ได้รับฉายาว่า บิดาของระเบิดไฮโดรเจน ซึ่งเป็นชื่อที่เขาไม่ภูมิใจนัก เพราะเขาชอบบอกทุกคนว่า เขาคือบิดาของลูกสองคน
เพราะที่นั่นมีมาตรฐานและคุณภาพการศึกษาสูงกว่า โดยเฉพาะด้าน
วิทยาศาสตร์ และภาษาเยอรมัน ขณะนั้น คือ ภาษาที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกใช้
เมื่ออายุ 18 ปี Teller ได้เดินทางไปเรียนวิชาวิศวกรรมเคมีที่ มหาวิทยาลัย Karlsruhe และวิชาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัย Munich Teller ได้รับปริญญาเอกฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัย Leipzig ในปี 1930 โดยมี Werner Heisenberg (รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ปี 1932) เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ขณะเรียนที่ Munich ในปี 1928 Teller ถูกรถรางแล่นทับเท้าขวาทำให้ต้องเข้ารับการผ่าตัด จนต้องมีไม้เท้าช่วยพยุงเวลาเดิน และ Teller จะใช้ไม้เท้ากระแทกพื้นทุกครั้งที่ต้องการเน้นให้ผู้คนสนใจฟังตนพูด
หลังสำเร็จการศึกษา Teller ได้งานเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัย Göttingen ในปี 1933 เมื่อนาซีเรืองอำนาจในเยอรมนี Teller ต้องอพยพออกนอกประเทศเป็นครั้งที่สอง โดยไม่มีจุดหมายในชีวิตที่แน่นอน รัฐบาลอังกฤษซึ่งมีนโยบายโอบอุ้มนักวิทยาศาสตร์ยิวได้ช่วยให้ Teller เดินทางไป Copenhagen เพื่อทำงานร่วมกับ นีลส์ โบร์ (Niels Bohr) แล้วไป London จากนั้นได้เดินทางต่อไปสหรัฐอเมริกา ในปี 1935 เพื่อเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัย George Washington โดยการรับรองของ George Gamow
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 Teller ได้รู้จักกับ Leo Szilard ซึ่งเป็นชาวฮังการีอพยพเหมือนกัน สัมพันธภาพนี้ทำให้ Teller ได้งานทำในโครงการสร้างระเบิดปรมาณูของอเมริกา และความเก่งกล้าสามารถของ Teller ทำให้เขามีบทบาทสำคัญยิ่งขึ้นๆ ตามลำดับในโครงการ Manhattan แต่ก็ไม่ถึงระดับหัวหน้า เพราะ Teller มีนิสัยหลงตัวเอง และคิดว่าตนเองเก่งเหนือคนอื่นๆ อีกทั้งชอบอิจฉาผู้ที่บังคับบัญชาตน ซึ่งในที่นี้คือ โรเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ (J. Robert Oppenheimer)
การที่ Teller ได้ทุ่มเททำงานในโครงการ Manhattan อย่างสุดตัวนั้น เพราะเขารู้สึกรักอเมริกา ทั้งๆ ที่ตนเป็นชาวฮังการีอพยพ และรู้ดีว่าการอยู่ใต้การปกครองของระบบฟาสซิสต์ และคอมมิวนิสต์นั้น ความเป็นอยู่ของผู้คนภายใต้การปกครองสองระบบนี้เป็นอย่างไร Teller คิดว่าอเมริกาคือประเทศเดียวเท่านั้นที่จะสามารถคุ้มครองโลกให้รอดพ้นจากภัยคอมมิวนิสต์ได้ โดยการมีทั้งระเบิดปรมาณู และระเบิดไฮโดรเจน
ในปี ค.ศ.1945 Teller เป็นนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งที่คัดค้านการทิ้งระเบิดปรมาณูที่ Hiroshima เขาต้องการให้ทิ้งระเบิดปรมาณูเหนือกรุง Tokyo เพื่อให้คนญี่ปุ่นเห็นพลังงานในการทำลายล้างของระเบิดมหาประลัย และจะได้รู้สึกกลัว แล้วยอมแพ้สงคราม โดยไม่มีการสูญเสียชีวิตมากมาย แต่ Oppenheimer ผู้รับผิดชอบโครงการผลิตระเบิดไม่เห็นด้วย
หลังจากที่โลกประจักษ์ในอำนาจสังหารของระเบิดที่ Hiroshima และ Nagasaki แล้ว Oppenheimer รู้สึกสำนึกผิดในบาปกรรมที่ได้ทำลงไป เขาจึงคัดค้านการสร้างระเบิดไฮโดรเจนที่จะมีอำนาจทำลายยิ่งกว่าระเบิดปรมาณู ดังนั้น Oppenheimer จึงขัดขวาง Teller ไม่ให้เดินหน้าสร้างระเบิดไฮโดรเจน
ความขัดแย้งนี้ได้ทำให้ประธานาธิบดี Harry Truman มีความลำบากใจ เพราะไม่มั่นใจว่าควรอนุมัติให้อเมริกาสร้างระเบิดไฮโดรเจนหรือไม่ เพราะไม่รู้ว่าอาวุธมหาประลัยนี้จะมีประสิทธิภาพเพียงใด และมีคุณหรือโทษอย่างไร และตัวประธานาธิบดีเองรู้คณิตศาสตร์เพียงเพื่อใช้ในการซื้อของ สำหรับวิชากลศาสตร์ควอนตัมซึ่งเป็นวิชาจำเป็นในการสร้างระเบิดปรมาณูนั้น Truman ไม่ได้รู้อะไรเกี่ยวกับวิชานี้เลย ถึงกระนั้น Truman ก็ตัดสินใจเชื่อ Teller และได้อนุมัติให้ Teller เดินหน้าสร้างระเบิดไฮโดรเจนในฤดูใบไม้ร่วงปี 1949 เพราะรู้ข่าวว่ารัสเซียสามารถสร้างระเบิดปรมาณูได้แล้ว
ในช่วงเวลานั้น Teller ได้กลับไปเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัย California ที่ Berkeley และได้ลงมือหาเสียงจากบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐให้สนับสนุนโครงการสร้างระเบิดไฮโดรเจน ท่ามกลางเสียงต่อต้านจาก Oppenheimer เพราะเขาคิดว่าลำพังระเบิดปรมาณูก็สามารถทำให้ผู้คนล้มตายเป็นแสนแล้ว การสร้างระเบิดไฮโดรเจนจะทำลายมนุษยชาติอย่างไม่มีใครคาดฝัน โดยส่วนตัว Teller รู้สึกกตัญญูต่อ Oppenheimer ที่ให้งานทำในโครงการ Manhattan ทั้งๆ ที่ Teller มีญาติเป็นคอมมิวนิสต์ จึงทำให้เป็นบุคคลที่ไม่น่าไว้ใจ แต่ Oppenheimer ไม่เห็นด้วยกับการสร้างระเบิดไฮโดรเจน ซึ่ง Teller เห็นว่าเป็นความคิดที่ผิดมาก ข้อขัดแย้งนี้ทำให้กระทรวงกลาโหมของสหรัฐตั้งข้อกล่าวหา Oppenheimer ว่าเป็นคนทรยศต่อชาติ และในสมัยนั้นใครก็ตามที่คัดค้านแนวคิดของรัฐบาลเขาจะถูกตั้งข้อหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ยิ่งเมื่อกองสอบสวน FBI สืบรู้มาว่า Oppenheimer เป็นคนที่เห็นอกเห็นใจคนเอียงซ้าย และยังติดต่อกับพวกคอมมิวนิสต์ ศาลจึงสั่งสอบสวน Oppenheimer ทันที และศาลได้ถาม Teller ว่าไว้ใจ Oppenheimer อดีตเจ้านายเก่าเพียงใด หรือไม่ ซึ่ง Teller ก็ได้ตอบว่า เขาอยากเห็นโครงการระเบิดไฮโดรเจนดำเนินโดยบุคคลที่เขาเข้าใจ และไว้ใจมากกว่า Oppenheimer
การแถลงเช่นนี้ทำให้ Oppenheimer ถูกปลดออกจากตำแหน่งผู้อำนวยโครงการสร้างระเบิดไฮโดรเจน ถูกถอดถอนจากตำแหน่งที่ปรึกษาของ Atomic Energy Commission ของสหรัฐ ในฐานะที่เป็นบุรุษอันตรายต่อความมั่นคงของชาติ และศาลสั่งไม่ให้ Oppenheimer ได้รับรู้ข้อมูลใดๆ ในการสร้างระเบิดไฮโดรเจน อีกเลย
ในการสนับสนุนโครงการสร้างระเบิดไฮโดรเจนนั้น Teller ได้ตอกย้ำว่าประเทศตะวันตกไม่ควรไว้ใจคอมมิวนิสต์ และควรมีระเบิดนิวเคลียร์ที่ทรงพลังยิ่งกว่าระเบิดปรมาณูเพื่อคุ้มครอง ถ้าไว้ใจคอมมิวนิสต์ ก็ไม่ควรมีระเบิดไฮโดรเจน แต่ถ้าไม่ไว้ใจก็ควรมี แต่เรื่องจะมีหรือไม่มีนั้นก็ควรดูตัวอย่างจากกรณีปี 1939 ที่ Teller และ Leo Szilard ได้ขอร้อง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) ซึ่งเป็นนักนักฟิสิกส์ ให้เขียนจดหมายถึงประธานาธิบดี Franklin D. Roosevelt ให้อนุมัติโครงการ Manhattan เพื่อสร้างระเบิดปรมาณูให้ได้ก่อนเยอรมนี และระเบิดนี้ได้ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรมีชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่สองในที่สุด
หลังจากที่อเมริกาผลิตระเบิดไฮโดรเจนได้ อีก 2 ปีต่อมา รัสเซียก็ผลิตระเบิดไฮโดรเจนได้เช่นกัน และโลกก็ก้าวเข้าสู่ยุคสงครามเย็นระหว่างอเมริกากับรัสเซีย
ในช่วงเวลาที่ Ronald Reagan เป็นประธานาธิบดีของสหรัฐนั้น Reagan ชื่นชม Teller มาก และ Teller ก็ศรัทธา Reagan มากเช่นกัน เพราะเขาคิดว่า Reagan คือทูตที่ฟ้าได้ส่งมาปกป้องอารยธรรมตะวันตกให้ปลอดภัยจากพวกคอมมิวนิสต์ ดังนั้น Reagan จึงเชื่อคำพูด และข้อเสนอแนะของที่ปรึกษา Teller มาก เช่น เมื่อ Teller เอ่ยถึงการใช้เลเซอร์พลังงานสูงในการทำลายจรวดนำวิธีข้ามทวีปของรัสเซียที่บรรทุกระเบิดนิวเคลียร์ Reagan ผู้มีความรู้ทางคณิตศาสตร์น้อยกว่า Truman แต่รู้เรื่องภาพยนตร์ด้านอวกาศดีกว่าก็ได้อนุมัติโครงการ Star Wars ทันที แต่ในที่สุดโครงการนี้ก็ต้องล้มไป เพราะอเมริกาต้องใช้เงินมหาศาล และเทคโนโลยีก็ยังไม่ได้รับการพัฒนาดีพอ แต่โครงการนี้ก็ได้ทำให้รัสเซียลงทุนมหาศาลเพื่อพัฒนาสงครามเลเซอร์ และการลงทุนที่มากเกิน ได้ส่วนทำให้อาณาจักรรัสเซียต้องล่มสลายในเวลาต่อมา
ดังนั้นในปี 1987 ที่ประธานาธิบดี Reagan จัดงานเลี้ยงรับรองนายกรัฐมนตรี Mikhail Gorbachev ที่ทำเนียบขาว Reagan ได้แนะนำ Gorbachev ให้รู้จัก Teller ว่านี่คือ "The famous Dr. Teller" และ Gorbachev ก็ได้ตอบว่า "There are many Tellers" แล้วปฏิเสธที่จะจับมือกับ Teller
ในส่วนของผลงานฟิสิกส์ที่สำคัญของ Teller คือ การศึกษาบทบาทของอิเล็กตรอน 1 ตัวในการเชื่อมโยง โปรตอน 2 ตัว ในโมเลกุลไฮโดรเจนที่แตกตัวเหลืออิเล็กตรอนตัวเดียว ซึ่งการศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต หลังจากนั้น Teller ได้ทำงานร่วมกับ Emil Jahn ในการอธิบายเส้นสเปกตรัมของ Benzene ในช่วงรังสีอัลตราไวโอเล็ตว่า เกิดจากการบิดเบี้ยวของโมเลกุล ซึ่งปรากฏการณ์นี้ เรียกว่า ปรากฏการณ์ Jahn-Teller นอกจากนี้ ก็ยังได้ศึกษาการสลายตัวแบบเบตาของธาตุกัมมันตรังสี โดยได้คำนึงถึงอันตรกริยาระหว่างสปิน (spin) ของ neutrino กับ สปิน (spin) ของนิวเคลียสที่สลายตัว จึงทำให้ทฤษฎีของ Fermi สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เป็นต้น
ในด้านเกียรติยศ Teller ได้รับรางวัล Albert Einstein, รางวัล Enrico Fermi และเหรียญ National Medal of Science ซึ่งเป็นเกียรติสูงสุดที่รัฐบาลสหรัฐจะมอบให้แก่ประชาชน และได้รับ Presidential Medal of Freedom จากประธานาธิบดี George W. Bush เมื่อ 2 เดือนก่อนจะเสียชีวิต
ณ วันนี้ วงการดาราศาสตร์ได้ตั้งชื่อ ดาวเคราะห์น้อย 5006 ว่า Teller และระลึกถึง Teller ว่าถึงเขาจะเป็นคนที่ดำรงชีวิตอย่างเรียบง่าย ชอบเล่นเปียโน เทนนิส และปิงปอง ซึ่งเป็นกีฬาราคาถูก แต่เขาคือคนที่ชี้นำประธานาธิบดีสหรัฐในการทหาร เช่น ชักจูงให้อเมริกาลงทุนล้านล้านดอลลาร์สร้างอาวุธ สร้างหลุมหลบภัยปรมาณู สนับสนุนโครงการ Strategic Defense Initiative (Star Wars) ที่ล้วนหมดสภาพไปแล้ว แต่ Teller ก็ไม่เสียใจ เพราะเขารู้ว่าความฟุ่มเฟือยเหล่านี้แหละที่ทำให้รัสเซีย ซึ่งเป็นศัตรูสำคัญของอเมริกาต้องล่มสลาย และนี่คือมรดกสำคัญชิ้นสุดท้ายที่ Teller ได้มอบให้อเมริกาก่อนจากไป
ในด้านนิสัยส่วนตัว Teller เป็นคนที่ยึดมั่นในความคิดและความเชื่อของตน อีกทั้งชอบพูดความเชื่อเหล่านั้นอย่างเปิดเผย เขามองเหตุการณ์แทบทุกอย่างในลักษณะขาวหรือดำ และเป็นคนที่เข้าใจคำว่า "อำนาจ" ดี เพราะเขารู้ว่าประธานาธิบดีต่างๆ เชื่อในสิ่งที่เขาพูด ดังนั้น เขาจึงมีศัตรูทางการเมือง และวิชาการพอประมาณ เขาจึงกล่าวว่า คนที่มีศัตรูมาก คือคนที่มีอำนาจมาก ความยึดมั่นในตนเอง และอำนาจเช่นนี้ได้ทำให้ George Keyworth ผู้เป็นที่ปรึกษาของประธานาธิบดี Reagan คิดว่า Teller เข้าใจเรื่องอำนาจดีจนสามารถเขียนเรื่อง The Prince ที่ Machiavelli เขียน ได้ดีพอๆ กัน
ถึงแม้ Teller จะเป็นคนสมถะและชอบเล่นเปียโนและปิงปอง แต่เขาได้ทำให้สหรัฐอเมริกาต้องใช้เงินเป็นหมื่นล้านเหรียญในการสร้างอาวุธยุทโธปกรณ์ และหลุมหลบภัย ซึ่งเขาเชื่อว่า ถ้าเกิดสงครามโลกครั้งที่สามหลุมหลบภัยเหล่านั้นจะช่วยชีวิตคนอเมริกันหลายล้านคนให้ปลอดภัยจากการถูกโจมตีด้วยระเบิดปรมาณูและถึงแม้หลุมเหล่านี้จะไร้ประโยชน์ในการต่อสู้กับรัสเซียเพราะรัสเซียก็แทบจะหมดสภาพในการต่อสู้กับอเมริกาแล้ว และนี่ก็นับว่าเป็นผลงานหนึ่งที่ Teller รู้สึกยินดีเพราะเขาไม่เคยคิดไว้ใจรัสเซียเลย
ในวันที่ Teller เสียชีวิต เขาได้รับเชิญให้ไปเปิดศูนย์การศึกษาวิทยาศาสตร์ชื่อ Edward Teller Education Center ที่ Lawrence Livermore National Laboratery ซึ่งศูนย์นี้เป็นสถานที่ที่ Teller ต้องการจะให้กระตุ้นนักเรียนมัธยมสนใจและรักวิทยาศาสตร์
Teller เสียชีวิตลง เมื่อวันที่ 9 กันยายน ค.ศ.2003 ที่เมือง Palo Alto ในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา รวมอายุได้ 95 ปี
ถึงแม้นักวิทยาศาสตร์หลายคนจะไม่รัก Teller เพราะคิดว่า ถ้าโลกนี้ไม่มี Teller (ระเบิดไฮโดรเจน) โลกคงน่าอยู่กว่าที่เป็นอยู่นี้ แต่ Teller ก็มีคนรักหลายคน เพราะเมื่อต้นปีนี้ประธานาธิบดี George W. Bush ก็ได้มอบ Presidential Medal of Freedom ซึ่งเป็นเกียรติยศสูงสุด ที่สหรัฐฯ จะให้แก่พลเมืองของชาติแก่ Teller
และถึงใครจะว่า Teller เป็นจอมวางแผน เป็นคนทรยศเพื่อนฝูง คนดื้อรั้น คนที่ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นคนอื่น คนชอบแก้แค้น คนฉลาด คนเก่ง คนมีความคิดต่าง ๆ นานา แต่ทุกคนก็ต้องยอมรับว่า เขาเป็นนักฟิสิกส์ที่ฉลาดเฉลียวมาก และเป็นคนที่มีอิทธิพลมากในการกำหนดนโยบายทางทหารของสหรัฐอเมริกาในขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่
วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
Nikola Tesla
Tesla c. 1890 | |
วันเดือนปีเกิด | 10 กรกฎาคม 1856 Smiljan , เอ็มไพร์ออสเตรีย ( โครเอเชียทหาร Frontier ) |
---|---|
เสียชีวิต | 7 มกราคม 1943 (อายุ 86) New York City, New York, USA |
เขตข้อมูล | วิศวกรรมเครื่องกล และ วิศวกรรมไฟฟ้า |
หรือเป็นที่รู้จักสำหรับ | |
ที่มีอิทธิพลต่อ | Ernst Mach |
มีอิทธิพล | ดันน์ Gano |
ได้รับรางวัลที่มีชื่อเสียง | เอดิสันเหรียญ (1916) เอลเลียต Cresson เหรียญ (1893) จอห์นสก็อตเหรียญ (1934) |
ลายเซ็น | |
หมายเหตุ เอ็มไพร์ออสเตรีย (1804-1867) การปรับโครงสร้างองค์กรและเปลี่ยนชื่อเป็น ออสเตรียฮังการี (1867-1918) ใน 1867 |
Nikola Tesla ( เซอร์เบีย : НиколаТесла; 10 กรกฎาคม 1856 -- 7 มกราคม 1943) เป็นนักประดิษฐ์, วิศวกรเครื่องกล และ วิศวกรไฟฟ้า . เขาเป็นส่วนสำคัญในการเกิดของ กระแสไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ และเป็นที่รู้จักดีที่สุดสำหรับการปฏิวัติและพัฒนาในขอบเขตของ แม่เหล็กไฟฟ้า ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20
สิทธิบัตรของ Tesla และหลักการทำงานตามทฤษฎีที่เกิดขึ้นบนพื้นฐานของกระแสสลับ (AC) พลังงานไฟฟ้าในระบบที่ทันสมัย รวมถึง ระบบหลายเฟส ของการกระจายไฟฟ้าและ มอเตอร์ AC . งานนี้ได้ช่วยในการ ปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง .
เกิดชนกลุ่มน้อย ชาวเซอร์เบีย ในหมู่บ้านของ Smiljan (ตอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Gospić ) ใน Frontier โครเอเชียทหาร [1] ของ จักรวรรดิออสเตรีย (สมัยใหม่ โครเอเชีย ) Tesla เป็นคนของจักรวรรดิออสเตรียโดยกำเนิดและภายหลังได้กลายเป็นพลเมืองชาวอเมริกัน เนื่องจากปี 1894 การสาธิตของเขาในการติดต่อสื่อสารแบบไร้สายผ่านวิทยุและเป็นผู้ชนะใน" สงครามของกระแส "เขาได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนึ่งในวิศวกรไฟฟ้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดผู้ที่ทำงานในอเมริกา เขาเป็นผู้บุกเบิกวิศวกรรมไฟฟ้าที่ทันสมัยและการค้นพบจำนวนมากของเขามีความสำคัญ ในประเทศสหรัฐอเมริกา Tesla แสดงให้เห็นถึง การถ่ายโอนพลังงานไร้สาย กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลังในช่วงต้นของปี 1893 และ aspired เพื่อการส่งไร้สายข้ามทวีปจากไฟฟ้าอุตสาหกรรม ในโครงการ Wardenclyffe ทาวเวอร์ ของเขายังไม่เสร็จ
เพราะบุคลิกภาพของเขาประหลาดและบางครั้งก็แปลกประหลาดเกี่ยวกับการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเขาที่เป็นไปได้ Tesla ถูกถือว่าเป็น นักวิทยาศาสตร์บ้า โดยในช่วงปลายชีวิตของเขาเขาไม่ค่อยมีเงิน Tesla ตายเมื่ออายุ 86 ปีในห้องสวีทโรงแรมในนิวยอร์กซิตี้
SI หน่วยวัด สนามแม่เหล็ก B (ยังเรียกว่าความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็กและการเหนี่ยวนำแม่เหล็ก), Tesla เป็นชื่อในเกียรติของเขา (ที่ CGPM , ปารีส, 1960)
ไอเดียบรรเจิด! เด็กไทยหัวคิดแจ๋วโชว์เครื่องเตือนรถไฟระบบGPS
ในปัจจุบันมีการเกิดอุบัติเหตุขบวนรถไฟชนกับรถยนต์พาหนะให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งก็นำความเสียหายมาสู่ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้ นักศึกษา กลุ่มหนึ่งได้ช่วยกันคิดค้น ประดิษฐ์ เครื่องเตือนระยะห่างขบวนรถไฟโดยใช้ GPS โดยพวกเขามีจุดประสงค์เพื่อจะได้ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุในกรณีที่ขบวนรถไฟชนกับรถยนต์นั่นเอง แนวคิด และ สิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวเป็นผลงานของ นายประจักษ์ สุริวงค์ และนางสาวปิยะวรรณ เบ็ดเสร็จ นักศึกษาจากสาขาวิชาครุศาสตร์ อิเล็กทรอนิคและโทรคมนาคม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยเจ้าของผลงานเปิดเผยว่า เครื่องมือดังกล่าวจะทำหน้าที่ในการบอกตำแหน่งระยะห่างของขบวนรถไฟที่กำลังเคลื่อนที่เข้ามาใกล้ให้ผู้ใช้ถนนเส้นทางที่ตัดผ่านทางรถไฟ โดยหลักการทำงานและส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน คือ เครื่องส่งทำหน้าที่หลักในการเปรียบเทียบพิกัดตำแหน่งของ GPS และส่งข้อมูลระยะห่างขบวนรถไฟไปยังเครื่องรับส่ง ซึ่งประกอบด้วยคีบอร์ดรับค่าข้อมูลจำนวนโบกี้รถไฟ | |||
เจ้าของผลงานกล่าวต่อไปว่า จากนั้นเครื่องรับจะทำน้าที่รับสัญญาณจากเครื่องส่งโดยใช้เครื่องรับ-ส่งสัญญาณความถี่วิทยุและนำสัญญาณที่ได้มาทำการแปลงให้เป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อที่หน่วยประมวลผลจะทำการต่อไป โดยเมื่อประมวลผลและทราบแล้วว่าข้อมูลที่ได้รับเป็นระยะห่างที่เท่าไร บอร์ดสัญญาณไฟจราจรจะถูกสั่งให้ทำการแสดงผลตามข้อมูลที่ได้รับจากเครื่องส่ง | |||
นับว่าเป็นอีกแนวคิดและสิ่งประดิษฐ์หนึ่งที่เกิดจากความตั้งใจเพื่อที่จะป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่น่าสนใจ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเครื่องมือดังกกล่าวจะได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพจนเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์จะได้เห็นการนำมาใช้กับผู้ใช้รถใช้ถนนที่ต้องใช้เส้นทางที่รถไฟตัดผ่านได้จริง credit:http://manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9540000085794 |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)