วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เจ้า Honey Badger อสูรร้ายตัวจิ๋วแห่งทะเลทราย





เจ้าฮันนี่แบ็ตเจอร์ มีสมญานามอีกว่า Snake Killer และ Killer Badger ค่ะ
เดี๋ยวมาดูกันว่ามันน่าสนใจตรงไหน


ฮัน นี่แบ็ตเจอร์อาศัยอยู่ในแถบทวีปแอฟริกา และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้  มันอาศัยอยู่ใต้พื้นดิน โดยการ ขุด ๆ ๆ ๆ ๆ เป็นโพรงลงไป สร้างบ้านทำรังมีครอบครัวกันในนั้น บางทีอุ่นหนาฝาคั่งมากๆ ปาเข้าไป 20 ตัว

โซนแดงๆ คือบ้านพวกพี่ๆเค้าเอง


มุด และขุดดินเก่งมากๆ


นี่ไง พี่โผล่ออกมาจากบ้านแล้ว

พวกมันวิ่งไว รวดเร็ว ฉลาด เขี้ยวแหลมคม  หนังหนา เล็บยาวและทรงพลัง ฮันนี่แบ็ดเจอร์เป็นสัตว์กินเนื้ออาหารของเค้ามีอะไรบ้างมาดูกัน

    


หนอน


   


ปลวก

  

กระต่าย หรือหนูสัตว์ตัวขนาดนี้ไม่มีรอด

   


เม่น


  
 เต่า

   


งูทั้งมีพิษหรือไม่มีพิษ รวมไปถึงงูหลามด้วย

 


  แมงป่อง

   


จระเข้ ขนาดซักราวๆ 1 เมตร จะเป็นอาหารมันค่ะ

 


  กวาง

   


และตัวกนู หรือ วิลเดอบีส

คือว่า พี่เขากินดะจริงๆ
และได้ชื่อว่าเป็น the most fearless animal of the world (สัตว์ที่ไม่กลัวอะไรเลย) ลงกินเนสบุ๊คในปี 2002
เจอ หมาจิ้งจอกมันก็วิ่งเข้าใส่ เจองูมันก็ฆ่ามากิน ไม่ว่างูมีพิษหรือไม่มีพิษ เจอเสือมันก็ไม่กลัว สิงโตพี่แกก็ฆ่ามาแล้ว (ตามที่มีการจดบันทึกไว้) ไม่ว่าสัตว์ตัวใหญ่กว่าแค่ไหน พี่ไม่เคยถอยครับผม




พี่ชอบกินแมงป่องเป็นอาหารว่าง


เห็นหลังเจ้าแบ็ตเจอร์มั้ยคะ สู้กับเสือดาวอยู่


ตูมาแว้วววว
ฆ่างูมากิน
ข้าพเจ้าประทับใจวิธีการกินงูของเจ้าแบ็ตเจอร์มาก เวลาที่สองตัวนี้สู้กัน ข้าพเจ้ารู้สึกสงสารงูเหลือเกิน
เจ้าแบ็ตเจอร์ชำนาญมากเรื่องการตะปบหัวงู ไม่ว่างูจะเลื้อยหนีขึ้นต้นไม้ ลงรู หรือพยายามจะต่อสู้ เจ้าแบ็ตเจอร์ไม่เคยพลาด
ข้าพเจ้า มองไม่เคยทันว่ามันคว้าเข้าปากตอนไหน เห็นอีกทีหัวงูขาดกระจุยอยู่ในปากมันแล้ว และทุกครั้งที่กินงูมีพิษ พิษจะเข้าสู่ร่างกายของเจ้าแบ็ตเจอร์ คิดว่าพิษทำอะไรมันได้ไหม ? ..เจ้าแบ็ตเจอร์เจอพิษงูมันจะล้มลง นอนนิ่ง ขยับเขยื้อนตัวไม่ได้ ขดตัวดูไร้พิษสง อยู่ราวๆ 2 - 3 ชั่วโมง แล้วมันก็ฟื้นค่ะ สะบัดหัวสองสามที ลุกขึ้นมากินซากงูต่อ
ที่เด็ดไปกว่านั้นก็คือ มันชอบเข้าไปแย่งอาหารของงูมากินหน้าตาเฉย เมื่อผ่านลงท้องมันไปแล้ว มันก็จะหันมาล่าเจ้างูที่โชคร้ายนี้ต่อ


พี่หิวแล้ว พี่จะกินงู


หมั่บ แล้ว งั่ม ๆ


พี่ขอนอนแป๊บนึงนะ พี่เจอพิษงู เดี่ยวพี่ลุกมากินใหม่


ฆ่าอะไรมาได้ก็ไม่รู้ล่ะ ตัวยาวๆ แบบนี้เดาว่าเป็นงูหล่ะเนาะ

อาหารโปรดอีกอย่างของพี่ใหญ่แบ็ตเจอร์คือรังผึ้งที่ฉ่ำไปด้วยน้ำผึ้ง
เจ้าแบ็ตเจอร์จะบุกตลุยเต็มสตีมเพื่อให้ได้รังผึ้งฉ่ำๆมาเขมือบ ผึ้งแอฟริกาตัวใหญ่เป้งๆ มันก็บ่ยั่น
เมื่อแบตเจอร์เจอรังผึ้ง แล้ว มันจะย่องเข้าหา โดยการหันก้นเข้าใส่  และส่งกลิ่นจากต่อมกลิ่นแถวๆก้น ชวนให้ผึ้งวิงเวียน และโอกาสนี่แหล่ะค่ะ พี่แกจะเด็ดรังผึ้งเพื่อลิ้มรสหวานของน้ำผึ้งมาเข้าปาก เมื่อผึ้งหายมึน ก็จะรุมต่อยเจ้าแบ็ตเจอร์ อ่า........เฮียทนได้ แบ็ตเจอร์จะกินๆ ๆ ๆ ๆ ไม่ว่าผึ้งเป็นร้อยเป็นพันจะรุมต่อยมัน พอเริ่มเยอะขึ้นมันก็จะทนไม่ไหว ผึ้งต่อยนี่ มันก็ต้องเจ็บ เจ้าแบ็ตเจอร์จะวิ่งออกมาเพื่อปัดๆ ๆ ๆ แล้ววิ่งเข้าไปกินต่อ ไม่ว่ารังผึ้งจะใหญ่แค่ไหน ไม่ว่าผึ้งจะมหาศาลแค่ไหน พี่แกฟาดไม่เหลือค่ะ



กิน ๆ ๆ ๆ


และกิน ๆ ๆ ๆ


หัวงูมั้งเนี่ย


พี่เท่ห์มั้ยจ๊ะ หนูๆ



 

บรึ๋ย พี่แกกำลังกินหนูนะเนี่ย

เมื่อ แรกเกิดใหม่ๆ ฮันนี่แบ็ตเจอร์ตัวน้อยๆจะอยู่กับแม่ ยกเว้นเวลาออกไปหาอาหารเท่านั้น ที่ลูกๆจะอยู่เพียงลำพังที่รังของมัน และเด็กๆจะค่อยๆเริ่มเรียนรู้ความดุเดือดเลือดพล่านจากแม่ตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการปีน การขุด การหาอาหาร การล่างู


กำลังคาบลูกมันไปไหนไม่รู้ค่ะ


ด้านหลัง ก้นกลมเชียว

สิ่งที่อันตรายมากที่สุดต่อเจ้าฮันนี่แบ็ตเจอร์ก็คือ แถ่น แทน แท้นน.... มนุษย์ค่ะ
เนื่อง จากมันชอบมาแอบโขมยกินรังผึ้งของพวกมนุษย์ที่ทำอาชีพผลิตน้ำผึ้งขาย ดังนั้นมนุษย์พวกนี้จะวางกับดักคอยดักจับเจ้าฮันนี่แบตเจอร์ไว้ใกล้ๆ รังผึ้งของตนค่ะ
เฮ้อ.... เก่งมาจากไหน ทำไมมาแพ้มนุษย์ทุกทีเลยอ่ะ




ย้อนดูเหตุการณ์สำคัญ "ยุคกระสวยอวกาศ"





ภาพการทดสอบยานเอนเตอร์ไพรส์ครั้งแรก ซึ่งบรรทุกไปบนโบอิง 747 (บีบีซีนิวส์) 

12 ส.ค.1977 
1.เที่ยวบินทดสอบ
แนวคิดเรื่องกระสวยอวกาศมีมายาวนานก่อนที่เราจะส่งคนไปลงบนดวงจันทร์ได้เสียอีก และก่อนเริ่มต้นยุคกระสวยอวกาศ องค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ได้ เริ่มเที่ยวบินทดสอบแนวคิดกระสวยอวกาศ โดยส่งยานเอนเตอร์ไพรส์ (Enterprise) ติดหลังเครื่องบินบรรทุกกระสวยอวกาศโบอิง 747 (Boeing 747 Shuttle Carrier Aircraft) ขึ้นไปทดสอบการบินระดับชั้นบรรยากาศ ณ ฐานทัพอากาศเอ็ดเวิร์ดส์ (Edwards Air Force Base) ในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ


จอห์น ยัง (ซ้าย) และ โรเบิร์ต คริพเพน (ขวา) ลูกเรือของกระสวยอวกาศเที่ยวบินแรก (นาซา) 

12 เม.ย.1981 

2.เที่ยวบินแรก
ยานโคลัมเบีย (Columbia) เป็นกระสวยอวกาศลำแรกที่ทะยานฟ้าโดยมีลูกเรือประจำเที่ยวบินที่ 1 นี้ 2 คน คือ จอห์น ยัง (John Young)และ บ็อบ คริพเพน (Bob Crippen)




ภาพการเดินอวกาศครั้งแรกในโครงการกระสวยอวกาศ (บีบีซีนิวส์)
 
4 เม.ย.1983

3.เดินอวกาศครั้งแรก
การ เดินอวกาศ (spacewalk) เริ่มขึ้นครั้งแรกในการส่งยานชาเลนเจอร์ (Challenger) ซึ่งเป็นกระสวยอวกาศลำที่ 2 ของนาซา และเป็นปฏิบัติการที่เกิดขึ้นในการส่งกระสวยอวกาศครั้งที่ 6


แซลลี ไรด์ มนุษย์อวกาศคนแรกหญิงของสหรัฐฯ (บีบีซีนิวส์)
 
18 มิ.ย.1983

4.มนุษย์อวกาศหญิงอเมริกันคนแรก
แซ ลลี ไรด์ (Sally Ride) เป็นหญิงอเมริกันคนแรกที่ได้เดินทางไปอวกาศ เธอเป็นนักฟิสิกส์และได้เดินทางไปพร้อมกับยานชาเลนเจอร์ในเที่ยวบินที่ 7 ของกระสวยอวกาศนาซา


ภาพการเดินอวกาศโดยไม่มีสายยึดโยงครั้งแรก (บีบีซีนิวส์) 

7 ก.พ.1984 

5.เดินอวกาศโดยไม่มีสายโยง 
บรู ซ แมคแคนด์เลสส์ (Bruce McCandless) ได้ทดลองเดินอวกาศโดยไม่มีสายโยงระหว่างการทดสอบอุปกรณ์เคลื่อนที่บังคับโดย มนุษย์ (Manned Maneuvering Unit) ซึ่งช่วยให้มนุษย์เดินอวกาศได้โดยไม่ต้องมีอุปกรณ์ยึดโยง เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นหลังส่งยานชาเลนเจอร์ทะยานฟ้าเมื่อ 3 ก.พ.1984 และปฏิบัติการครั้งนั้นทำให้ได้ภาพมนุษย์ลอยล่องอยู่ในอวกาศที่ปราศจากสาย ยึดโยงอยู่เหนือดาวเคราะห์สีน้ำเงิน



โศกนาฏกรรมชาเลนเจอร์ (บีบีซีนิวส์)
 
28 ม.ค.1986 

6.โศกนาฏกรรมชาเลนเจอร์
ยาน ชาเลนเจอร์ระเบิดระหว่างทะยานฟ้าได้เพียง 72 วินาที ทำให้ลูกเรือทั้ง 7 คนเสียชีวิตทั้งหมด ซึ่งรวมถึง คริสตา แม็คออลิฟฟ์ (Christa McAuliffe) ครูและพลเรือนคนแรกของสหรัฐฯ ที่จะได้เดินทางสู่อวกาศ


ดิสคัฟเวอรีรับภารกิจนาซากลับมาบินหลังโศกนาฏกรรมชาเลนเจอร์

29 ก.ย.1988 

7.นาซากลับมาบิน
หลัง โศกนาฏกรรมยานระเบิดนาซาได้ว่างเว้นการส่งกระสวยอวกาศนานกว่า 2 ปี และยานดิสคัฟเวอรีได้รับหน้าที่ให้กลับมาบินเป็นเที่ยวแรกหลังการสูญเสีย และนักบินอวกาศได้กลับมาสวมชุด “ฟักทอง” สีส้มบาดตาอีกครั้ง


ยานแมกเจลแลน 

4 พ.ค.1989 
8.ส่ง “แมคเจลแลน” ยานสำรวจดาวศุกร์
เป็น ครั้งแรกที่ปฏิบัติการสำรวจดาวเคราะห์ถูกส่งขึ้นไปพร้อมกระสวยอวกาศ โดยยานแมคเจลแลน (Magellan) ซึ่งมีภารกิจทำแผนที่พื้นผิวดาวศุกร์ถูกส่งขึ้นไปพร้อมยานแอตแลนติส (Atlantis)


กล้องฮับเบิลที่มีบทบาทต่อการค้นพบทางดาราศาสตร์
 
24 เม.ย.1990 

9.ส่งกล้อง “ฮับเบิล” เข้าวงโคจร 
ยาน ดิสคัฟเวอรีรับหน้าที่ขนส่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) เข้าสู่วงโคจร ภารกิจสำคัญที่นำไปสู่การค้นพบปรากฏการณ์ต่างๆ บนฟากฟ้า

2 ธ.ค.1993 

10.ซ่อมบำรุง “ฮับเบิล” ครั้งแรก
ปฏิบัติ การครั้งสำคัญในการซ่อมบำรุง “ฮับเบิล” ครั้งนี้รับหน้าที่โดยยานเอนเดฟเวอร์ (Endeavour) กระสวยอวกาศน้องเล็กของนาซา โดยเอนเดฟเวอร์ได้ขนอุปกรณ์ปรับแก้ความคมชัดขึ้นไปติดตั้งให้กล้องโทรทรรศน์ อวกาศ และกลายเป็นอีกภารกิจเด่นของกระสวยอวกาศลำนี้

27 มิ.ย.1995 

11.เชื่อมต่อสถานีอวกาศ “มีร์” 
แอ ตแลนติสเป็นกระสวยอวกาศของนาซาลำแรกที่เชื่อมต่อสถานีอวกาศมีร์ (Mir) และประสบการณ์จากการไปเยือนสถานีอวกาศรัสเซีย 11 ครั้ง ได้ปูทางสู่การสร้างสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station: ISS) ที่เกิดจากความร่วมมือของหลายชาติ


จอห์น เกลนน์ 

29 ต.ค.1998 

12.ส่งมนุษย์อวกาศอายุมากสุดสู่วงโคจร
จอห์น เกลนน์ (John Glenn) เป็นมนุษย์อวกาศชาวอเมริกันคนแรกที่ขึ้นสู่วงโคจรเมื่อปี 1962 และในปี 1998 เขาได้เดินทางไปพร้อมกับยานดิสคัฟเวอรีขณะอายุ 77 ปี ทำให้เขากลายเป็นมนุษย์ที่มีอายุมากที่สุดในอวกาศ ไม่เป็นเพียงเท่านั้นเขายังเป็นคนเดียวที่เดินทางไปอวกาศทั้งในโครงการเมอร์ คิวรี (Mercury) และโครงการกระสวยอวกาศของนาซา

4 ธ.ค.1998 

13.เยือนสถานีอวกาศนานาชาติ 
รัส เซียเริ่มโครงการสถานีอวกาศนานาชาติซึ่งต้องใช้เวลามากกว่า 10 ปีจึงจะแล้วเสร็จ โดยนาซาได้ส่งกระสวยอวกาศขึ้นไปปฏิบัติภารกิจบนสถานีอวกาศ 37 ครั้ง โดยครั้งแรกเป็นภารกิจของเอนเดฟเวอร์ที่ขนส่งโมดูลยูนิตี (Unity) ชิ้นส่วนแรกของสหรัฐฯ ขึ้นไปติดตั้ง



1 ก.พ.2003

14.โศกนาฏกรรมโคลัมเบีย
นา ซาต้องสูญเสียกระสวยอวกาศอีกครั้งเมื่อยานโคลัมเบียระเบิดระหว่างกลับเข้า สู่ชั้นบรรยากาศโลก โดยแผ่นฉนวนกันความร้อนของถังเชื้อเพลิงภายนอกได้สร้างความเสียหายที่ปีก ซ้ายของยาน และทำให้ก๊าซร้อนระที่เกิดจากการเสียดสีชั้นบรรยากาศได้แทรกเข้าไปในรูโหว่ ที่เกิดขึ้นและระเบิดกระสวยอวกาศออกเป็นชิ้นๆ



14 ม.ค.2004

15.จุดเริ่มต้นปิดฉาก “กระสวยอวกาศ” 
จอร์จ ดับเบิลยู บุช (George W Bush) ประกาศให้ปลดระวางกระสวยอวกาศภายในปี 2010 และให้เริ่มต้นโครงการคอนสเตลเลชัน (Constellation) เพื่อพัฒนาระบบขนส่งอวกาศนำมนุษย์กลับไปเยือนดวงจันทร์อีกครั้ง แต่โครงการนี้ก็ถูกยกเลิกไปโดยประธานาธิบดีผู้รับช่วงต่อ

26 ก.ค.2005 

16.กลับมาบิน (อีกครั้ง) 
หลัง จากโศกนาฏกรรมโคลัมเบียนาซาได้หยุดการส่งกระสวยอวกาศไปหลายปี จากนั้นได้ตัดสินใจส่งกระสวยอวกาศอีกครั้งโดยมียานดิสคัฟเวอรีรับภารกิจ เที่ยวบินแรกหลังจากหยุดไปนาน โดยนาซาได้เพิ่มมาตรการในการตรวจสอบความเสียหายระหว่างถูกยิงจากฐานปล่อย รวมถึงคำแนะนำในการกลับตัวยานเมื่อไปถึงสถานีอวกาศ เพื่อบันทึกภาพถ่ายสำหรับตรวจสอบความเสียหายฉนวนกันความร้อนของตัวยาน



8 ส.ค.2007 

17.ครูคนแรกในอวกาศ
บาร์ บารา มอร์แกน (Barbara Morgan) เป็นนักบินอวกาศตัวรอง เมื่อครั้ง คริสตา แมคออลิฟฟ์ (Christa McAuliffe) คุณครูคนแรกที่ได้รับเลือกให้เดินทางไปอวกาศพร้อมกับยานชาเลนเจอร์ มอร์แกนซึ่งเข้ารับการฝึกจากนาซาเพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ต้องรอถึง 21 ปีจึงได้สานฝันการเป็นครูคนแรกที่เดินทางสู่อวกาศ โดยเดินทางไปพร้อมกับยานเอนเดฟเวอร์

7 ก.พ.2008 

18.ขนแล็บอวกาศขนาดใหญ่ไปติดตั้งบนสถานีอวกาศ 
แอตแลนติสขนส่ง “โคลัมบัส” (Columbus) แล็บอวกาศของยุโรปที่หนักถึง 12.8 ตันขึ้นไปติดตั้งบนสถานีอวกาศ 


ดิสคัฟเวอรีปิดฉากภารกิจก่อนกระสวยลำอื่น 

24 ก.พ.2011

19.เที่ยวบินสุดท้าย “ดิสคัฟเวอรี” 
ดิสคัฟ เวอรีได้รับการยกย่องให้เป็น “จ่าฝูง” ของกระสวยอวกาศทั้งหมด และยังเป็นกระสวยอวกาศที่รับหน้าที่ “กลับมาบิน” ทั้งหลังโศกนาฏกรรมชาเลนเจอร์และโคลัมเบีย ดิสคัฟเวอรีปฏิบัติภารกิจทั้งหมด 39 เที่ยวบิน และเป็นกระสวยอวกาศที่ปฏิบัติภารกิจมากกว่ากระสวยอวกาศลำอื่นๆ


ภาพเอนเดฟเวอร์เชื่อมต่อสถานีอวกาศในภารกิจสุดท้าย
 
16 พ.ค.2011

20.เที่ยวบินสุดท้าย “เอนเดฟเวอร์” 
เอน เดฟเวอร์ทะยานฟ้าครั้งสุดท้ายหลังนาซายืดเวลาปลดระวางกระสวยอวกาศจากปี 2010 ออกมาเป็น 2011 โดยในเที่ยวสุดท้ายเอนเดฟเวอร์ได้นำกล้องศึกษาสเปกตรัมเอเอ็มเอส (AMS: Alpha Magnetic Spectrometer) มูลค่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่พัฒนาขึ้นโดยเซิร์น (CERN) ขึ้นไปค้นหาศึกษา "ปฏิสสาร" (antimatter) และ "พลังงานมืด" (dark energy) ในเอกภพ


แอตแลนติสปฏิบัติภารกิจเป็นลำสุดท้าย ปิดฉาก "ยุคกระสวยอวกาศ" หลังจากลงจอดในวันที่ 21 ก.ค.2011
 
8 ก.ค.2011

21.นาซาส่งกระสวยอวกาศครั้งสุดท้าย
หลัง ทยอยปลดระวางกระสวยอวกาศนาซาได้ส่ง “แอตแลนติส” ทะยานฟ้าครั้งสุดท้ายเมื่อ 8 ก.ค. และเป็นเที่ยวบินสุดท้ายของ “ฝูงบินกระสวยอวกาศ” โดยมีภารกิจขนส่งเสบียงไปยังสถานีอวกาศ และลำเลียงของเสียและอุปกรณ์ที่เสียหายกลับมายังโลก เมื่อกระสวยลำนี้ลงจอดหรือแลนดิงสู่พื้นโลกก็เป็นการรูดม่านปิดฉาก “ยุคกระสวยอวกาศ” ในเที่ยวบินที่ 135

เผยภาพถ้ำคริสตัสใหญ่ที่สุดในโลก ที่เม็กซิโก

ถ้ำ ,เม็กซิโก , คริสตัล

สำนักข่าวต่างประเทศเปิดเผย ภาพ ถ้ำคริสตัลขนาดใหญ่ ชื่อว่า “ไนก้า” ที่ประเทศเม็กซิโก เป็นถ้ำที่ถูกค้นพบโดยบังเอิญโดยคนงานเหมือนแร่ 2 คน เมื่อหลายสิบปีก่อน มันมีขนาดใหญ่พอที่จะนำรถทั้งคันเข้าไปจอดได้ มีความลึกของถ้ำราว 300 เมตร
ถ้ำ ,เม็กซิโก , คริสตัล
ทั้ง นี้ ถ้ำแห่งนี้ถูกขนานนามว่า ถ้ำแห่งดาบ เพราะ แร่ยิปซัมที่แตกตัวยาวออกมานั้นมีปลายแหลมเป็นสามเหลี่ยมเหมือนดาบ ยาวถึง 11 เมตร ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่าเหตุใด มันถึงมีรูปร่างเป็นเหลี่ยมมุมแบบต่างๆ
นอกจากนี้ ถ้ำนี้มีอุณหภูมิภายใน ถึง 60 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของผลึกคริสตัลเหล่านี้ เจ้าของภาพถ่ายนามว่าจาเวียร์ ทรูบา ชาวสเปน กล่าวว่า คนทั่วไปจะไม่สามารถทนอยู่ในถ้ำนี้ได้มากกว่า 10 นาที
ถ้ำ ,เม็กซิโก , คริสตัล
อย่างไรก็ตาม เพราะความสวยงามและอัศจจรย์ของถ้ำแห่งนี้ นักวิทยาศาสตร์พยายามผลักดัน ถ้ำแห่งนี้ให้เป็นมรดกโลก และอยากให้ชาวเม็กซิโกใส่ใจดูแลถ้ำแห่งนี้มากกว่านี้
ถ้ำ ,เม็กซิโก , คริสตัล
Photo:: Barcroft Media